ความหมายของคำว่า วิจิตรศิลป์ และทัศนศิลป์
ทัศนศิลป์ (อังกฤษ: Visual arts) คือ กระบวนการถ่ายทอดผลงานทางศิลปะ การทำงานศิลปะอย่างมีจิตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ มีระบบระเบียบเป็นขั้นเป็นตอน การสร้างสรรค์งานอย่างมีประสิทธิภาพสวยงาม มีการปฏิบัติงานตามแผนและมีการพัฒนาผลงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ความหมายหลักรากศัพท์ของคำว่า ทัศนะ หรือ ทรรศนะ เป็นคำเดียวกัน ซึ่งหมายความว่า "ความเห็น,เครื่องรู้เห็น,สิ่งที่เห็น,การแสดง" ที่เขียนต่างกันนั้น
ทัศนะ เขียนตามรูปภาษามคธ ( ภาษาถิ่นของภาษาอินเดียโบราณ) ส่วน ทรรศนะ เขียนตามรูปภาษาสันสกฤต
แต่เดิมนั้น คำทั้งสองมีกฏเกณฑ์การใช้ที่ค่อนข้างแน่นอน คือ
ทัศนะ ใช้ประกอบหน้าศัพท์ เช่น
ทัศนคติ - แนวความคิดเห็น
ทัศนวิสัย - ระยะทางไกลสุดที่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าและรู้ว่าเป็นอะไร
ทัศนศึกษา - การศึกษานอกสถานที่ หรือท่องเที่ยวเพื่อแสวงหาความรู้
ทัศนศิลป์ เป็นการแปลความหมายทางศิลปะ ที่แตกต่างกันไปแต่ละมุมมอง ของแต่ละบุคคล ในงานศิลปะชิ้นเดียวกัน ซึ่งไร้ขอบเขตทางจินตนาการ ไม่มีกรอบที่แน่นอน ขึ้นกับอารมณ์ของบุคคลในขณะทัศนศิลป์ นั้น
เป็นแนวคิดทัศนศิลป์เป็นศิลปะที่รับรู้ได้ด้วยการมอง ซึ่งได้แก่รูปภาพวิวทิวทัศน์ทั่วไปเป็นสำคัญอันดับต้นๆ รูปภาพคนเหมือน ภาพล้อ ภาพสิ่งของต่างๆก็ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องของทัศนศิลป์ด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งถ้ากล่าวว่าทัศนศิลป์เป็นความงามทางศิลปะที่ได้จากการมอง หรือ ทัศนา ดังนั้น
ทัศนศิลป์ คือ ศิลปะที่มองเห็นได้ การรับรู้ทางจักษุประสาท โดยการมองเห็น สสาร วัตถุ และสรรพสิ่งต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบ รวมถึงมนุษย์ และสัตว์ จะด้วยการหยุดนิ่ง หรือเคลื่อนไหวก็ตาม หรือจะด้วยการปรุงแต่ง หรือไม่ปรุงแต่งก็ตาม ก่อให้เกิดปัจจัยสมมุติต่อจิตใจ และอารมณ์ของมนุษย์ อาจจะเป็นไปในทางเดียวกันหรือไม่ก็ตาม มีขั้นตอนและกระบวนการในการถ่ายทอดที่มีลักษณะเฉพาะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น