การออกแบบกราฟิก (Graphic Design) งานกราฟิกเป็นส่วนสำคัญที่มีบทบาทยิ่งต่อการออกแบบและกระบวนการผลิตสื่อ โดยเฉพาะสื่อที่ต้องการการสัมผัสรับรู้ด้วยตา (
Visual Communication Design)
ได้แก่ หนังสือ นิตยสารวารสาร แผ่นป้ายโฆษณา บรรจุภัณฑ์ แผ่นพับ แผ่นปลิว
โทรทัศน์ ภาพยนตร์ เว็บไซต์ ฯลฯ นักออกแบบจะใช้วิธีการทางศิลปะและ
หลักการทางการออกแบบร่วมกันสร้างสรรค์รูปแบบสื่อเพื่อให้เกิดศักยภาพ
สูงสุดในการที่จะเป็นตัวกลางของกระบวนการสื่อความหมายระหว่างผู้ส่งสารและ
ผู้รับสาร นักออกแบบกราฟิกจะต้องค้นหา รวบรวมข้อมูลต่างๆ ขบคิดแนวทางและวาง
รูปแบบที่ดีที่สุดในอันที่จะทำให้สื่อนั้นสามารถดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย
(Target Group) ให้เกิดการรับรู้ยอมรับ
และมีทัศนคติที่ดีต่อการตอบสนองสื่อที่มองเห็น (Visual Message)
วิธีการออกแบบ และวิธีแก้ปัญหาการออกแบบโดยการนำเอารูปภาพประกอบ
(Illustration) ภาพถ่าย (Photography) สัญลักษณ์ (Symbol)
รูปแบบและขนาดของตัวอักษร (Typography)
มาจัดวางเพื่อให้เกิดการนำเสนอข้อมูลอย่างชัดเจน เกิดผลดีต่อกระบวนการ
สื่อความหมาย และแสดงคุณค่าทางการออกแบบอย่างตรงไปตรงมา งานออกแบบกราฟิก
จึงมีลักษณะเฉพาะซึ่งมีวิธีการและวัตถุประสงค์ที่แตกต่างไปจากงาน
วิจิตรศิลป์ (
Fine Arts)
แต่ในบางกรณีผู้ออกแบบก็อาจจะสอดแทรกงานศิลปะแท้ๆ (Pure Arts)
เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบกราฟิกเพื่อใช้สำหรับกระบวนการสื่อสาร
การเรียนรู้ การตลาด การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ ฯลฯ ซึ่งอาจรวมกันเรียกว่า
เป็นงานประยุกต์ศิลป์ (Apply Arts)
ถ้าเป็นงานที่มีลักษณะเน้นหนักไปทางด้านธุรกิจ การพาณิชย์
ก็จะเรียกว่าเป็นงานออกแบบพาณิชย์ศิลป์ (Commercial Arts) และถ้าเป็น
การเน้นวัตถุประสงค์ในแง่ของการสร่างสรรค์สื่อเพื่อการสื่อความหมายก็จะ
รวมเรียกว่าเป็นงานออกแบบทัศนสื่อสาร (Visual Communication Design)
ความหมายของการออกแบบกราฟิก (Definition of Graphic Design)
ได้มีผู้ให้ความหมายของคำว่า “กราฟิก” ไว้อยู่หลายความหมายด้วยกัน
ในสมัยโบราณหมายความถึง ภาพลายเส้นหรือภาพที่เกิดจากการวัด
จากการขีดเขียนที่แสดงด้วยตารางหรือแผนภาพ การวาดเขียนการระบายสี
การสร้างงานศิลปะบนพื้นระนาบ
หรืออาจกล่าวอีกนักหนึ่งว่างานกราฟิกหมายถึงกระบวนการออกแบบต่างๆ
ในสิ่งที่เป็นวัสดุ 2 มิติ คือมีความกว้างและความยาวเท่านั้น เช่น
งานออกแบบบ้านของสถาปนิกในการเขียนแบบ
ตัวภาพและรายละเอียดบนแปลนบ้านเรียกว่าเป็นงานกราฟิกการเขียนภาพเหมือนจริง
ของจิตรกร การออกแบบภาพโฆษณาของนักออกแบบ การออกแบบฉลาก
หรือลวดลายหรือภาพประกอบ หรือตัวอักษรที่ปรากฏบนฉลากสินค้า
บนตัวสินค้าหรือบนภาชนะบรรจุสินค้า ฯลฯ
เหล่านี้จัดว่าเป็นงานกราฟิกทั้งสิ้น
คำว่าการออกแบบ
(Design) ก็มีความหมายเป็นหลายนัยเช่นกัน จากรายศัพท์ลาตินคำว่า Design
ซึ่งมาจาก Designare หมายถึงกำหนดออกมา กะหรือขีดหมายไว้
เป้าหมายที่จะแสดงออกซึ่งหมายถึงสิ่งที่อยู่ในอำนาจความคิด (
Conscious)
อันอาจเป็นโครงการ
รูปแบบหรือแผนผังที่ศิลปินกำหนดขึ้นด้วยการจัดท่าทางถ้อยคำ เส้น สี รูปแบบ
โครงสร้างและวัสดุต่างๆ โดยใช้หลักเกณฑ์ทางความงามหรือสุนทรียภาพ (
Aesthetic Principle) ประดิษฐ์คิดสร้างสรรค์ขึ้นจากสิ่งที่ง่ายที่สุด ไปจนสิ่งที่ยุ่งยากสลับซับซ้อนเต็มที่
บรรทัดฐานในการออกแบบ
......1.
การตอบสนองประโยชน์ใช้สอย (Function) เป็นข้อสำคัญมากในการออกแบบทั้งหมด
ในงานออกแบบ กราฟิกนั้น ประโยชน์ใช้สอยมีอิทธิพลกับงานที่เราออกแบบ เช่น
งานออกแบบหนังสือ ต้องอ่านง่าย ตัวหนังสือชัดเจนไม่วาง เกะกะ กันไปซะหมด
หรืองานออกแบบเว็บไซต์ถึงจะสวยอย่างไร
แต่ถ้าโหลดช้าทำให้ผู้ใช้งานต้องรอนาน ก็ไม่นับว่าเป็นงาน
ออกแบบเว็บไซต์ที่ดี หรืองานออกแบบซีดีรอม
ถ้าปุ่มที่มีไว้สำหรับกดไปยังส่วนต่าง ๆ ของเนื้อหานั้นวางเรียงอย่าง
กระจัดกระจาย ทุกครั้งที่ผ้าใช้งานจะใช้ก็ต้องกวาดตามองหาอยู่ตลอด
อย่างนี้ก็เรียกว่าเป็นการออกแบบที่ไม่สนอง ต่อประโยชน์ใช้สอย
เป็นงานออกแบบไม่ดี
ดังนั้นนักออกแบบจึงต้องคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรก
ในการออกแบบเสมอ
......2. ความสวยงามพึงพอใจ (Aesthetic)
ในงานที่มีประโยชน์ใช้สอยดีพอ ๆ กัน ความงามจะเป็นเกณฑ์ตัดสิน คุณค่าของงาน
โดยเฉพาะงานออกแบบกราฟิก
ซึ่งถือเป็นงานอกแบบที่มีประโยชน์ใช้สอยน้อยกว่างานออกแบบด้านอื่น อย่าง
งานออกแบบผลิตภัณฑ์ งานออกแบบสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ฯลฯ
ความสวยงามจึงเป็นเรื่องสำคัญและมีอิทธิพลในงาน ออกแบบกราฟิกอย่างมาก
......3.
การสื่อความหมาย (Meaning )
เนื่องจากงานศิลปะนั้นจะมีคุณค่าก็ต่อเมื่อมันสื่อความหมายออกมาได้ งาน
กราฟิกก็คืองานศิลปะเช่นกัน
การสื่อความหมายจึงเป็นสิ่งที่นักออกแบบขาดเสียไม่ได้ในการออกแบบ
ต่อให้งานที่ได้สวยงาม อย่างไรแต่ไม่สามารถตอบโจทย์ของงานออกแบบ
หรือสื่อสิ่งที่ผู้ออกแบบคิดเอาไว้ได้ งานกราฟิกนั้นก็จะมีคุณค่าลดน้อย
ลงไป
มองอย่างไรให้เป็น : Be Graphic Eyes
เรื่องของการมองภาพนั้นเป็นเรื่องที่ฝังอยู่ในสามัญสำนึก
อยู่ในความรู้สึกหรือที่หลายคนมักเรียกกันว่าเซ็นส์ (Sense) ของเราอยู่แล้ว
มนุษย์ทุกคนมีความสามารถในการรับรู้เรื่องความสวยงาม
ถึงแม้จะไม่เหมือนกันทุกคน
แต่ส่วนใหญ่ก็มีแนวโน้มที่เหมือนกันคล้ายกันกับพื้นฐานในศิลปะที่ติดตัวทุก
คนมาตั้งแต่เกิดเพียงแต่ว่าใครจะมีมากหรือน้อย
ใครจะได้รับการฝึกฝนมากกว่ากันหรือใครจะดึงออกมาใช้งานได้มากกว่ากัน
เราในฐานะผู้ออกแบบต้องก้าวข้ามพื้นฐานสามัญของมนุษย์นี้ออกมาเพราะการมอง
ภาพสวยไม่สวยเพียงอย่างเดียวคงไม่พอ
และไม่สามารถทำให้เราออกแบบงานกราฟิกที่ดีได้
การมองภาพที่สามารถสร้างให้เราเป็นนักออกแบบกราฟิกได้นั้น
จะต้องเป็นการมองเข้าไปในแก่นของภาพ ซึ่งมีเรื่องหลักอยู่2 เรื่องด้วยกัน
คือ
1. มองเข้าไปในความหมายของภาพ (Meaning) ที่นัก ออกแบบต้องการสื่อ
2. มองลึกเข้าไปในรายละเอียดขององค์ประกอบต่าง ๆ (Element) ที่อยู่ภายในภาพ
รวมทั้งมีความเข้าใจและคิดวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ ข้างต้น
ให้เป็นแบบอย่างที่เก็บอยู่ในคลังสมองของเรา
เพื่อนำกลับมาใช้ในการออกแบบในภายหลัง
ภาษาภาพ : Visual Language
มนุษย์เราเป็นสัตว์สังคมที่มีความต้องการใช้ชีวิตอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน
เป็นกลุ่มสังคม
ดังนั้นจึงแทบเป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์จะหลีกหนีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน
มนุษย์จึงมีการใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อสารสร้างความเข้าใจระหว่างกัน
และกัน
ตัวภาษามีจุดสำคัญอยู่ที่การสื่อความหมายให้มีความเข้าใจตรงกัน เช่น
เรามีภาษาพูดที่ใช้สื่อสารระหว่างกัน
และเป็นภาษาที่เราเลือกใช้ได้ง่ายที่สุดแค่เปล่งเสียงออกมาเท่านั้น
แต่ลองนึกภาพ
ถ้าสมมติว่าเช้าวันหนึ่งเราตื่นขึ้นมากลางกรุงเม็กซิโกเราจะพูดกับใคร
พูดกันอย่างไร ...........
ภาษาพูดจึงมีข้อจำกัด
โดยเฉพาะข้อจำกัดในกลุ่มคนที่ใช้ภาษาพูดคนละภาษา
(หลายคนอาจจะพูดว่าภาษาอังกฤษก็น่าจะเป็นสื่อกลางได้
แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่ส่ายหน้าปฎิเสธ)
ภาษาพูดไม่สามารถทำให้คนสามารถเข้าใจได้ตรงกันทั่วโลก
มนุษย์จึงใช้วิธีการสื่อสารระหว่างกันทางอื่นนั่นก็คือภาษาภาพ
ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
การรับรู้ภาพ : Perception Image
การรับรู้ภาพเกิดจากการมองเห็นด้วยตาเป็นด่านแรก
ผ่านการประมวลผลจากสมองและจิตใจ เป็นการรับรู้และทำความเข้าใจ
มีความหมายของใครของมัน และการรับรู้ของแต่ละคนขึ้นอยู่กับการฝึกฝน
การมองงานมาก ๆ การพยายามสร้างความ เข้าใจภาพเปรียบเหมือนเรายิ่งฝึกพูด
ฝึกฟัง ภาษาอังกฤษบ่อย ๆ
ก็จะทำให้เก่งภาษาอังกฤษได้นั่นเองเราแบ่งภาพที่รับรู้ได้ออกเป็น 2
ประเภทใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ
ภาพที่เราเห็น (Visual Image) ภาพที่เราเห็นคือ ภาพที่ผ่านสายตากระทบโสตประสาทของเรา
ภาพที่เรานึกคิด (Conceptual Image)ภาพที่เรานึกคิดคือ ภาพที่ผ่านการมองเห็น ผ่านขบวนการประมวลผลจากสมองแล้วเลยนึกสร้างเป็นภาพอื่นตาม