วันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

DESIGNER



garethpughcapitanospaven
เมื่อพูดถึงคำว่า แฟชั่นดีไซเนอร์ แน่นอนว่า ดีไซเนอร์เหล่านั้นเขาสามารถหา คอนเซ็ปต์ และ แรงบันดาลใจสามารถมาได้จากทุกๆสิ่ง บางครั้งอาจจะที่ทำงาน ร้านหนังสือ หรือแม้กระทั้ง ขณะยืนรอรถเมล์อยู่ก็เป็นได้ แรงบันดาลใจ ( Inspiration ) อาจจะมาจาก เพลงที่เราฟังแล้วรู้สึกชอบ จนไปถึง มื้ออาหารที่คุณโปรดปราน แต่ แรงบันดานใจ จะไม่ใช่การที่คุณ วาดเสื้อผ้าเล่นๆบนกระดาษแล้วพบมันเข้า ( การสร้างมันขึ้นมาจากการวาดไปเรื่อยเปื่อย หรือจากความบังเอิญที่มาจากการวาดไปเรื่อยเปื่อย และ การนึกคิดขึ้งมาเองนั้นแสดงว่า แรงบันดาลใจของคุณนั้นใช้ไม่ได้ )
การเริ่มต้นออกแบบแล้วคุณไม่พอใจกับงานของคุณเอง นั้นไม่ได้หมายความว่าคุณจะไม่มีความสามารถในงานออกแบบเสื้อผ้า แต่การออกแบบเสื้อผ้าที่ดีจะต้องมีการฝึกฝนอยู่ตลอดเวลา หมั่นเรียนรู้ และ ศึกษาอยู่ตลอดเวลา
การออกแบบแฟชั่นไม่จำเป็นต้องเริ่มจากการวาดรูปให้สวยก่อนแล้วจึงออกแบบเสื้อผ้าได้ แต่การออกแบบเสื้อผ้านั้นต้องเริ่มจากการพัฒนาความคิดของเราให้ลึกซึ้ง ซึ่งนั้นสำคัญมากกว่าการที่เราจะฝึกวาดรูปให้สวย
คอนเซ็ปต์จับต้องได้ คอนเซ็ปต์จับต้องไม่ได้  นามธรรม หรือ รูปธรรม
แน่นอนครับคอนเซ็ปต์ของเรานั้น จะไปได้สวยแค่ไหน ต้องอยู่ที่ว่า คอนเซ็ปต์ของเรานั้น เราจะสื่อ มันออกมาอย่างไร และ มากน้อยเพียงใด
คอนเซ็ปต์ที่ยากเกินไปมักจะทำให้ผู้ชมหรือผู้ที่สนใจนั้น สับสน และ ไม่สามารถบอกได้ว่าคุณกำลังเล่นกับคอนเซ็ปต์อะไรอยู่ และบางครั้ง
concept-1 ได้มาจากคนละที่กับ concept-2 แต่ทำไม งานถึงออกมาทำไมถึงเหมือนกัน ?
แล้วทำไม งาน Concept-1 กับ งาน Concept-1 ที่มีผู้ออกแบบต่างกัน ผลงานถึงออกมาไม่เหมือนกัน ?
ครับ อยู่ที่การตีความของ คอนเซ็ปต์ครับ ว่าเราจะตีความออกมา ได้ดีแค่ไหนและนำไปใช้ได้ดีแค่ไหน
สไตล์ของงานแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน บางคนทำอีกอย่างได้ แต่บางคนไม่สามารถทำได้แต่ทำอีกอย่างได้แทน หากว่าเราคิดว่าเราแพ้ ให้เราคิดว่าเราไม่ได้แพ้ทุกอย่าง
Mood board*เป็นสิ่งที่สำคัญมากครับเพราะมันคือสิ่งที่จะแสดงให้คนรู้ว่าเรากำลังทำอะไร…
การออกแบบเสื้อผ้า จะต้องรู้เรื่องผ้า ?
แน่นอนว่าสิ่งที่สำคัญรองลงมาจาก เรื่องแรงบันดาลใจก็คือ ความเข้าใจในเนื้อผ้า และลักษณะของผ้าชนิดต่างๆ
ทำไมต้องรู้เรื่องผ้า ?
เพื่อปรับให้เข้ากับ แรงบันดาลใจของเรา เช่น คอนเซ็ปต์ ของเรามีลักษณะ หยาบ แล้วผ้าชนิดไหนหล่ะ ที่จะมาเข้ากับ คอนเซ็ปต์ของงานเรา
พึงนึกเสมอว่าอย่านำงานของผู้อื่นมาเป็นที่ตั้งของตัวเอง แต่ให้นำ คอนเซ็ปต์ของเราเป็นที่ตั้งแทน เรื่องสไตล์ของเสื้อไม่ต้องพูดถึง ให้นำ คอนเซ็ปต์ของเรามานั่งดูว่า สไตล์ ( style ) ของเสื้อผ้าเรานั้นจะต้องออกมาเป็นแบบไหน รวมไปถึง สีที่จะใช้ ด้วย ( ยกเว้นหากเป็นงาน JOB ควรทำให้ตรงตาม สไตล์ ของผู้สั่งงาน เพราะคุณคงไม่อยากเป็น ดีไซเนอร์ใส้แห้งใช่ไหม ?)
การเป็น fashion designer การบ่งบอกและแบ่งแยก ( เพศ ) ในประเทศไทยเป็นเพียงค่านิยม  Fashion design คือ ART แขนงหนึ่ง ที่เรามักจะใส่ สีสันลงไป ไม่ใช่แค่ผืนผ้าใบ แต่เป็น บนเสื้อผ้า งานแฟชั่นจับต้องได้มองเห็นได้และสัมผัสได้ แฟชั่นดีไซน์ไม่ใช่ Presentation ไม่ใช่ โลกใดโลกหนึ่ง, Fashion design คือ สิ่งที่เราเป็นอยู่ คือสิ่งใกล้ตัว และคือสิ่งที่เราทุกคนยังมองหามันอยู่เสมอ…



TATTOO

= = = = = = = == = = = = = = =
ประวัติ TATTOO
= = = = = = = == = = = = = = =
j17
Captain Cook - Whitby
Born 27 October 1728 - Died 14 February 1779


จุดเปลี่ยนแรกที่นำการสักมาสู่ยุคสมัยใหม่คือเมื่อกัปตัน เจมส์ คุก (Cook) นักเดินเรือคนสำคัญของโลก ที่เดินทางไปยังหมู่เกาะทะเลใต้ และบุกเบิกทวีปออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ได้นำศิลปะการสักกลับไปยุโรปใน ค.ศ.1769 ด้วยการนำชาวพื้นเมืองเมาลีที่เชี่ยวชาญการสักกลับไปอังกฤษกับเขาด้วย

การสักเกิดติดลมกลายเป็นแฟชั่นในหมู่คนชั้นสูง เพราะคนมีเงินเท่านั้นจึงจะมีรอยสักได้เนื่องจากมีราคาแพง เป็นเวลากว่าหนึ่งร้อยปีของศตวรรษที่ 19 (ค.ศ.1800"s) ที่การสักเป็นเรื่องของคนชั้นสูง และกัปตันคุกได้รับเครดิตว่า เป็นผู้นำการสักมาสู่คนเหล่านี้

อย่างไรก็ดี โดยแท้จริงแล้วคนอังกฤษและยุโรปก่อนหน้านั้นหลายร้อยปีไม่ว่าจะเป็นพระเจ้าแผ่นดิน (พระเจ้าริชาร์ดใจสิงห์สมัยโรบินฮู้ด) พระเจ้าเฮนรี่ที่ 4 พระเจ้าปีเตอร์มหาราช ตลอดจนอินเดียนแดงในอเมริกาเหนือล้วนมีการสักกันมาก่อนแล้ว

พระเจ้าฮาโรลด์ที่สองแห่งอังกฤษรักสนมคนหนึ่งมากจนมีรอยสักไว้บนหัวใจข้างซ้าย และรอยสักนี้แหละที่ทำให้สนมของพระองค์ สามารถพิสูจน์พระศพได้เมื่อทรงพ่ายแพ้ แก่ William the Conqueror ใน ค.ศ.1066
วัฒนธรรมการสักบนผิวหนัง  การสักลวดลายบนผิวหนังหรือที่เรียกว่าสักลายหรื อสักยันต์เป็นวัฒธรรมอย่างหนึ่งของไทย ที่มีมาช้านานแต่ทุกวันนี้ลายสักหรือสักยันต์ตามความเชื่ออย่างโบราณแทบจะไม่มีแล้ว   จะมีเพื่อความสวยงามเป็นการตกแต่งเสริมความงามให้กับร่างกายบ้างแต่ไม่ม ากนัก
เรื่องราวของลายสักของคนไทยเป็นสิ่งที่น่าศึกษาค้นคว้าเรื่องหนึ่ง แต่ดูเหมือนจะไม่มีใคร สนใจใคร่ศึกษามากนัก ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมพื้นบ้านอย่างหนึ่งและนับวันจะสูญหายไป
"สัก" คืออะไร พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยถาน พ.ศ.๒๕๒๕ เขียนว่า&n bsp; "สัก"  คือ   การเอาเหล็กแหลมแทงลงด้วยวิธีการห รือเพื่อประโยชน์ต่างๆ     กันใช้เหล็กแหลมจุ้มหมึกหรือน้ ำมันงาผสมว่าน   ๑๐๘   ชนิดเป็นต้นแทงที่ผิวหนังให้เ ป็นอักขระเครื่องหมายหรือลวดลายถ้าใช้หมึกเรียกว่าสักหมึก,     ถ้าใช้น้ำมันเรียกว่าสักน้ำมันทำเครื่องหมายสักเพื่อแสดงเป็นหลักฐานเช่น   ;"สักข้อมือแสดงว่าได้ขึ้นทะเบียนเป็นชายฉกรรจ์หรือมีสังกัดกรมกองแล้วสักหน้าแสดงว่ าเป็นผู้ต้องโทษปราชิกเป็นต้น" จากคำอธิบายดังกล่าวทำให้รู้ว่าการสักลายหรือลา ยสักของไทยคืออะไร  ประเพณีการสักนั้นมีไม่แพร่หลายนักบางหมู่บ้านจะพบว่า ผู้ชายไม่ว่าหนุ่มหรือแก่มักมีลายสักที่หน้าอกและแผ่นหลังตามสมัยนิยมในขณะที่ผู้ชำน าญในการสักของท้องถิ่นแสดงความสามารถที่สืบทอดมาอย่างเต็มที่ผู้ที่ทำหน้าที่สักมีทั ้งพระสงฆ์และฆราวาส (คนธรรมดา)
ในอดีตสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การสักไม่ได้รับความสนใจเหมือนอดีต  คือชาวเมืองและรวมถึงผู้คนทั่วไปมองว่าผู้ที่มีลายสักเป็นคนชั้นต่ำ  เป็นนักเลงความคิดเช่นนี้น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากชาวตะวันตกที่มองผู้ที่มีลาย สักว่าส่วนใหญ่มักเป็นกลาสีขี้เมาหรือคนจรจัด  คนเมืองจึงเกิดความรู้สึกว่าลายสักเป็นวัฒนธรรมของคนบ้านนอกคนไม่มีการศึกษา  ทัศนคติเช่นนี้มิได้มีแต่คนกรุงเทพฯ เท่านั้นแต่แพร่ไปสู่เมืองอื่นๆ ด้วย โดยคิดว่า การสักลายเป็นเรื่องของคนจน กรรมกร และคนบ้านนอก ดังนั้นการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องลายสัก จึงกระทำได้ยากในปัจจุบัน เพราะคนที่มีลายสักมักจะปกปิดลายสักไว้อย่างมิดชิด ผู้ที่จะให้ข้อมูลและเปิดเผยเรื่องราวเกี่ยวกับการสักจะเป็นกลุ่มที่มีความเชื่อในอำ นาจของศิลปะโบราณนี้เท่านั้น
การศึกษาค้นคว้าศิลปะชาวบ้านประเภทนี้ ควรจะได้รับการศึกษาบันทึกเกี่ยวกับการออกแบบ กรรมวิธีและพิธีกรรม ศึกษาเปรียบเทียบแต่ละกลุ่มชน ศึกษาค่านิยมและความเปลี่ยนแปลง ศึกษาการสักที่สืบทอดมาแต่โบราณ การสักมีรูปแบบที่แตกต่างกันอยู่ ๒ รูปแบบคือ ลายสักที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ และลายสักที่เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อ แต่ละรูปแบบจะมีวิวัฒนาการตามแบบฉบับของมันและแสดงให้เห็นรูปแบบของธรรมเนียมในประวั ติศาสตร์ของประเทศไทยในแต่ละแง่แต่ละมุมของลายสักที่สืบทอดกันมาในสังคมไทย
นักประวัติศาสตร์ซึ่งคุ้นเคยกับชีวิตแบบไทย ๆ คงจะทราบความจริงว่าข้าราชการของไทยจะทำตำหนิที่ข้อมือคนในบังคับซึ่งเป็นหน้าที่ของ แผนกทะเบียนเป็นผู้บันทึกและรวบรวมสถิติชาย และอาจะเดาได้ว่าการสักเป็นจุดเริ่มต้นขอการแบ่งส่วนราชการของไทย หรือการสักเป็นไปตามการแบ่งส่วนราชการ การทำเครื่องหมายลงบนร่างกายนี้อาจมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น ในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ( พ.ศ. ๑๙๙๑ - ๒๐๓๑ )
การสักที่เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อ วัตถุประสงค์ของการสัก ผู้ชายบางคนจะสักยันต์ด้วยเหตุผลทางเวทมนต์คาถาเพื่อความแข็ง แกร่งของจิตใจและต้องการอยู่ยงคงกระพัน ซึ่งเป็นความเชื่ออย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นเป็นประเพณีนิยมใน ชนบางกลุ่ม การสักลักษณะนี้จะสักให้เฉพาะชายฉกรรจ์เท่านั้น การสักมีลักษณะที่สอดแทรกไว้ด้วยความเชื่อและพิธีกรรมหลายอย่าง เช่น ก่อนทำการสักจะต้องมีการทำพิธีไหว้ครู ในการสักนั้นก็จะประกอบด้วยการร่ายเวทมนต์โดยอาจารย์สักจะถูผิวหนังของผู้มาสักทั้งก ่อน ขณะสักลายหรือสักยันต์ และหลังจากสักเสร็จแล้ว อาจารย์สักแต่ละคนจะมีรูปแบบของลวดลายเป็นของตนเอง และผู้ที่ต้องการจะสักสามารถเลือกลายที่อาจารย์มีอยู่ได้ตามต้องการ ส่วนมากจะเป็นสัตว์ในเทพนิยาย และ เป็นอักขระขอมและเลขยันต์ อาจจะสักลายทั้งสามประเภทผสมกัน ดังนั้นลายสักของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน
การสักในประเทศไทยอาจจะมีมาแต่โบราณ แต่จะมีมาตั้งแต่สมัยใด ไม่มีหลักฐานชัดเจน การสักยันต์เพื่อให้อยู่ยงคงกระพันนั้นเชื่อว่ามีมานานแล้วดังปรากฎในวรรณคดี เรื่องขุนช้างขุนแผน และวรรณกรรมอื่นๆ แต่การสักมักมองว่าเป็นเรื่องของนักเลง ถูกมองไปในทางลบ ทำให้ศิลปะบนผิวหนังประเภทนี้เกือบจะสูญไปจากสังคมไทย
เหตุผลที่การสักยังคงมีอยู่คือ หลาย ๆ คนยังเชื่อว่าการสักจะทำให้มีโชคและอยู่ยงคงกระพันพ้นอันตราย รูปแบบของการสักแต่ละชนิดจะมีความขลังที่แตกต่างกัน ลายสักหรือยันต์บางชนิดสามารถช่วยผู้ที่สักให้รอดพ้นจากสถานการณ์ที่ยุ่งยากได้ สัญลัษณ์บางอย่างของลายสักสามารถทำให้ผิว หนังเหนียวได้ ศัตรูยิงไม่ออก ฟันไม่เข้า เชื่อว่าการสักจะช่วยให้รอดพ้นจากสถานการณ์อันเลวร้ายได้ด้วย
นอกจากนี้ การสักทางไสยศาสตร์ยังเชื่อมโยงกับการระวังอันตรายและความปลอดภัย ทำให้แคล้วคลาดต่ออันตรายต่างๆ ศิลปะพื้นบ้านประเภทนี้ อาจจะกระตุ้นความรู้สึกให้เกิดศรัทธาความเชื่อมั่น เกิดความมั่นใจ มันอาจเป็นเครื่องแสดงความจริงต่างๆ วัฒนธรรมสมัยใหม่นั้นเมื่อมองแล้วอาจจะไม่ทำให้ปลอดภัย ส่วนวัฒนธรรมการสักยันต์จึงช่วยให้เกิดความรู้สึกปลอดภัย เป็นทางหนึ่งที่ช่วยให้จิตใจเขามีความมั่นใจมั่นคงมากยิ่งๆ ขึ้น
ลายสักยอดนิยม   ลวดลายสักแต่ละสำนักแต่ละครูอาจารย์มักจะมีความคล้ายคลึงกันเป็นส่วนใหญ ่   เช่น   ลายเสือเผ่นลายหนุมาน ลายยันต์ชนิดต่างๆ ฯลฯ จะแตกต่างกันที่รายละเอียดในส่วนปลีกย่อย เท่านั้น เช่น ถ้าเป็นลายหนุมาน แต่ละอาจารย์ก็จะคงรูปร่างลักษณะและโครงร่างของหนุมานไว้แต่จะมีความแตกต่างกันที่รา ยละเอียดของนิ้วมือ นิ้วเท้า และเครื่องประดับของหนุมานเป็นต้น
ลวดลายที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในบรรดาผู้ที่นิยมการสักคือ  ลวดลายสักที่ให้ผลทางไสยศาสตร์ซึ่งแบ่งเป็น ๒ ชนิด  คือเพื่อผลทางเมตตามหานิยม และเพื่อผลทางอยู่ยงคงกระพันชาตรีให้แคล้วคลาดจากของมีคม  อุบัติเหตุ  หรืออันตรายทั้งปวถ้าเป็นการสักเพื่อผลทางเมตตามหานิยมมักจะสักเป็นรูปจิ้งจก  หรือนกสาริกาเพื่อเป็นตัวแทนของความมีเสน่ห์เป็นที่รักใคร่ของคนทั่วไป โดยเฉพาะให้ผลดีทางการเจรจา ค้าขายทำให้เจริญรุ่งเรืองทำมาค้าขึ้น
ส่วนลายสักเพื่อผลทางอยู่ยงคงกระพันชาตรี จะนิยมสักลวดลายซึ่งเป็นตัวแทนความดุร้ายความปราดเปรียว ความสง่างาม ความกล้าหาญ ได้แก่ลายเสือเผ่น หนุมานคลุกฝุ่น หงส์ และลายสิงห์ เป็นต้น หรือเป็นลายที่เปรียบเสมือนเกราะป้องกันภยันตราย เช่น เก้ายอด ยันต์เกราะเพชร หรือลายยันต์ชนิดต่างๆ และสิ่งที่สำคัญที่สุดที่เป็นแก่นแท้ของการสักเพื่อผลทางไสยศาสตร์ และถือกันว่าเป็นหัวใจของการสักคือ หัวใจของคาถาที่กำกับลวดลายสักแต่ละลายอยู่ เพราะสิ่งนี้คือเคล็ดลับวิชาคาถาอาคมที่เป็นวิชาชั้นสูงของแต่ละอาจารย์สักที่จะไม่เ ปิดเผยให้แก่ผู้ใดเป็นอันขาดนอกจากลูกศิษย์ที่ได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้รับถายทอ ดวิชาสักของอาจารย์สืบต่อไป
นอกจากนั้นยังมีผู้นิยมสักเพื่อความสวยงาม ซึ่งการสักเพื่อความสวยงามจะไม่เกี่ยวข้องกับกับการเพื่อผลทางไสยศาสตร์แต่อย่างใด ดังนั้นจึงเป็นการสักเฉพาะรูปสวยเฉยๆ ไม่มีการลงหัวใจของอักขระเลขยันต์ต่างๆ หรือลงอักขระกำกับรูปภาพ ลวดลายสักจึงมักขึ้นอยู่กับความต้องการหรือรสนิยมของผู้สัก เช่น รูปผู้หญิงเปลือย ผีเสื้อ ดอกไม้ หัวใจ ฯลฯ โดยรูปภาพเหล่านี้จะบอกนิสัยใจคอของผู้สักหรือบอกอดีตที่เป็นความประทับใจหรือความทร งจำของผู้สักที่ต้องการประทับตราไว้กับตัวเขาตลอดไป เช่น ชื่อคน ชื่อประเทศ วันเดือนที่สำคัญ เป็นต้น
ลายสักดังกล่าวจะต้องถูกสักอยู่ในตำแหน่งที่ถูกที่ควร ไม่เช่นนั้นความขลังจะไม่เกิด โดยมากผู้มาสักประสงค์จะให้ลายสักอยู่ภายในร่มผ้ามากที่สุด ตำแหน่งที่นิยมสักเรียงตามลำดับดังนี้คือ บริเวณหลัง หน้าอก คอ ศีรษะ ไหล่ แขน ชายโครง หน้า มือ และหัวเข่า
แดวงคนสักลาย เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการสักคือเพื่อผลทางไสยศาสตร์ จึงต้องสักโดยครูอาจารย์ที่มีวิชาอาคมศักดิ์สิทธิ์โดยเฉพาะเท่านั้น ฆราวาสหรือบุคคลธรรมดาที่ไม่มีวิชาความรู้ทางด้านนี้จะไม่ได้รับการยอมรับ ครู และอาจารย์และช่างสักส่วนใหญ่จึงเป็นพระภิกษุ หรือเกจิอาจารย์ชื่อดังที่ได้รับการยอมรับนับถือจากบุคคลทั่วไป และความศักดิ์สิทธิ์ของการสักก็มักจะได้รับการทดสอบจนเห็นผลเป็นที่ร่ำลือมาแล้ว
จากคำบอกเล่าของพระอาจารย์ชื่อดังท่านหนึ่งให้ความรู้ว่า ปัจจุบันอาจารย์สักที่ลงคาถาอาคมและมีอานุภาพดังคำร่ำลือมีไม่เกิน ๑๐ สำนักในเมืองไทย ผลการศึกษาของนักวิชาการระบุออกมาว่า อาจารย์สักส่วนใหญ่เป็นผู้ชายอายุ ๕๐ ปีขึ้นไป มีประสบการณ์มากกว่า ๒๐ ปี อาจารย์สักถ้าเป็นผู้หญิงจะไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก เช่นเดียวกับผู้ที่มารับการสักโดยมากจะเป็นผู้ชาย จะเป็นผู้หญิงก็เป็นส่วนน้อย ซึ่งมักจะมาสักเพียงเพื่อต้องการจะดึงดูดเพศตรงข้าม หรือต้องการจะมีเสน่ห์ในการพูดจาเพื่อค้าขายได้คล่อง ฉะนั้นลายสัก นะหน้าทอง และสาริกาลิ้นทอง จึงเป็นลายสักที่ นิยมในเพศหญิง ตรงกันข้ามกับฝ่ายขายที่มีความกระหายอยากจะได้ของดีติดตัวคือเหตุผลที่มาเป็นอันดับห นึ่ง ความศรัทธาเชื่อมั่นในครูอาจารย์และเพื่อนฝูงญาติพี่น้องชักชวนให้มาสัก เป็นเหตุผลที่รองลงมาแต่จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ชายหรือหญิงคนนั้นจะต้องมีใจรักและเชื่อมั่นในเรื่องนี้อย่างเหนียวแน่น เท่าที่ผ่านมาผู้ที่ได้รับการสักครั้งแรกไปแล้วก็มักจะกลับมาสักอีกครั้งเป็นอย่างน้ อย บางคนอาจถึง ๑๐ ครั้งขึ้นไป
อย่างไรก็ตาม แม้ทุกวันนี้จะมีผู้เชื่อมั่นและศรัทธาในการสักอยู่ แต่ก็นับว่าลดลงไปมากเมื่อเทียบกับอดีตที่ผ่านมา และนับวันข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับลายสักจะสืบค้นได้ยากยิ่งขึ้น เป็นเพราะขาดผู้รู้ผู้ชำนาญ อาจารย์บางท่านที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันก็ไม่ค่อยถ่ายทอดวิชาให้แก่ศิษย์ ทำให้นับวันผู้ที่รู้วิชานี้ยิ่งลดน้อยลงทุกที อีกทั้งสังคมปัจจุบันไม่ค่อยยอมรับคนที่มีลายสักโดยดุษณีเช่นแต่ก่อนอีกแล้วในทางกลั บกันทัศนคติของคนไทยในวันนี้กลับมองว่าคนที่มีรอยสักเป็นผู้ที่มีการศึกษาน้อย เป็นผู้มีอาชีพใช้แรงงาน เป็นนักเลงหัวไม้ หรือเข้าใจหนักลงไปอีกว่า คนที่สักลายคือ พวกขี้คุกขี้ตรางที่มีลายสักซึ่งสักกันเองภายในเรือนจำ ประกอบกับการสักเป็นอุปสรรคในการรับราชการทหาร ตำรวจ และพลเรือน
ความเสื่อมอีกประการหนึ่ง ผู้ได้รับการสักปฏิบัติตนไม่เหมาะสมใช้ผลของการสักทางไสยศาสตร์หรือการอยู่ยงคงกระพั นชาตรีไปในทางที่ผิด เช่น โอ้อวด ท้าทาย ประลองต่อสู้กับผู้อื่น ทำตนเป็นมิจฉาชีพ ก่ออาชญากรรม ซึ่งมีส่วนผลักดันให้ค่านิยมของคนที่มีต่อลายสักเป็นไปในทางลบยิ่งขึ้น
ผู้ที่มีลายสักจำนวนไม่น้อยที่อยากจะลบรอยสักนั้นทิ้งเสีย อาจด้วยความรู้สึกว่าเมื่ออายุมากขึ้นลายสักบนผิวหนังกายทำให้แลดูสกปรกเลอะเทอะ หรือทำให้คนตั้งข้อรังเกียจไม่อยากเข้าใกล้ เป็นต้น ในบางรายก็ค้นพบด้วยตนเองว่าการสักไม่ได้ให้ผลทางไสยศาสตร์แก่ตนแต่อย่างใดเพราะความ เป็นอยู่ในชีวิตประจำวันทำให้ไม่สามารถยึดถือปฏิบัติสัจจะที่ให้ไว้อย่างเคร่งครัดได ้ ทว่า การลบรอยสักนั้นเป็นไปได้ยากมากเพราะหมึกที่ใช้สักถูกฝังลึกเข้าไปถึงชั้นของหนังแท้ ถ้าลบออกจะทำให้เกิดแผลเน่าน่าเกลียด แต่ก็อาจทำได้โดยกรรมวิธีศัลยกรรมตกแต่ง คือ ลอกผิวหนังตรงที่มีรอยสักทิ้งไป แล้วเอาผิวหนังส่วนอื่นของร่างกายปะไว้แทน แต่ก็จะเป็นรอยแผลเป็นอยู่ดี ฉนั้นจึงกล่าวได้ว่าการที่จะลบรอย สักโดยไม่ให้เหลือร่องรอยปรากฎอยู่เลยนั้น…ทำไม่ได้
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้คนจำนวนหนึ่งหันไปใช้วิธีสักด้วยน้ำมันแทนการสักด้วยน้ำหมึก เพื่อจะได้มองไม่เห็นลวดลาย และตัดปัญหาเรื่องการลบรอยสักออกภายหลังเมื่อไม่ต้องการ การสักในลักษณะนี้จึงทำให้ลวดลายที่สวยงามวิจิตรบรรจงและสื่อความหมายในรูปแบบต่างๆ ที่นิยมกันมาตั้งแต่ดั้งเดิมสูญหายไปทีละน้อย
ยุคสมัยที่เปลี่ยนไปทำให้ความคิดความเชื่อหลายๆ อย่างเสื่อมถอยไป แต่ลายสักก็ยังเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจของบุคคลหลายกลุ่มแต่จะยึดยาวนานไปสักเ ท่าใดนั้น ต้องให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์
เครื่องมือที่ใช้ในการสัก จากการศึกษาและวิเคราะห์เอกสารต่างๆ สามารถสรุปเครื่องมือที่ใช้ในการสักได้ว่า ส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดในการสักก็คือเข็มสักหรือวัตถุปลายแหลมที่ใช้ทำหน้าที่เป็น เข็มสักแทงลงไปบนผิวหนังการเลือกใช้เข็มสักและวัตถุปลายแหลมของอาจารย์สักแต่ละท่าน จะแตกต่างกันไปตามแต่ความถนัด ความสะดวก หรือตามที่ท่านได้รับการถ่ายทอดมาจากอาจารย์สักในรุ่นก่อน ๆ ซึ่งพอจะรวบรวมชนิดของเข็มสักได้ดังต่อไปนี้
             ๑. หนามหวาย ที่มีปลายแหลมและแข็ง
             ๒. เข็มหมุดหรือเข็มเย็บผ้า ๓-๔ เล่ม มัดเข้าไว้ด้วยกันแล้วผูกติดกับด้ามไม้ที่ใช้เป็นด้ามจับ
              ๓. ก้านร่ม ฝนปลายแหลมเป็นหน้าตัด
             ๔. เหล็กปลายแหลม ที่ทำด้วยทองเหลือง
              ๕. เข็มที่ทำจากเหล็กตะปูที่ตอกโลงผี เพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ทางอาคม
ในสมัยปัจจุบันเข็มที่ใช้ในการสักนั้นมักจะทำจากวัสดุที่เป็นโลหะ เพื่อให้จับได้ถนัดมือและให้มีน้ำหนักถ่วงที่ปลายด้าม เพื่อจะบังคับเข็มสักไปในทิศทางที่ต้องการ ส่วนเข็มสักไฟฟ้านั้นอาจารย์สักไม่นิยมใช้ เพราะว่าเหมาะสำหรับการสักเฉพาะรูปลวดลายที่ให้เกิดความสวยงามเท่านั้น ไม่เหมาะกับการสักตัวอักขระขอมที่กำกับลาย เพราะบังคับทิศทางไม่ได้การหนึ่ง และยังขัดต่อความเชื่อทางไสยศาสตร์อีกประการหนึ่งด้วย
เครื่องมือที่สำคัญรองลงมาจากเข็มสัก  คือหมึกที่ใช้ในการสัก ลวดลายที่สักจะสวยงามรูปคมชัด เจนและติดทนนาน ขึ้นอยู่กับการผสมของหมึกที่ใช้ ซึ่งตามประวัติความเป็นมากล่าวไว้ว่า ได้มีการวิวัฒนาการและการดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น ทำให้ส่วนผสมของหมึกจึงมีความแตกต่างหลากหลายกันออกไป อาทิ ทางภาคอีสานแรกเริ่มเดิมใช้ยางไม้สีขาวชนิดหนึ่งมาเขียนบนผิวหนังแล้วใช้ของแหลมจิ้ม ตามลวดลายที่ต้องการ ยางไม้นี้จะซึมเข้าไปใต้ผิวหนัง พอยางไม้แห้งก็จะเปลี่ยนเป็นสีดำ แต่สีของยางไม้นี้ไม่ทนทาน นานเข้าก็จะลบเลือน จึงดัดแปลงมาใช้ขี้เขม่าหรือดินหม้อผสมกับดีควายให้เข้ากัน เมื่อแผลสักหายแล้วก็จะกลายเป็นสีดำติดทนนาน
"อูเมโมโต"  ได้อธิบายถึงหมึกสักไว้ในบทความเรื่อง "ศิลปะการสักของไทย" ว่าในอดีตนั้นอาจารย์สักจะใช้ขี้เถ้าหรือขี้เขม่ากระดูกสัตว์ กากมะพร้าวแทนหมึก เพราะมีสีค่อน ข้างดำ ทำให้เห็นลายได้ชัดเจน แต่ต่อมาวิธีการทำหมึกดังกล่าวนั้นค่อนข้างยุ่งยากเกินไป เนื่องจากจะต้องมีส่วนผสมต่างๆ ตามสัดส่วนที่กำหนดเพื่อให้ได้สีตามต้องการ จึงได้เปลี่ยนมาใช้หมึกจีน หรือหมึกดำที่มีขายอยู่ตามท้องตลาด ทำให้การผสมหมึกสักนั้นง่านขึ้นกว่าเดิม
สมชาย นิลอาธิ ได้รวบรวมสูตรผสมหมึกสักที่นิยมใช้กันทางภาคอีสนไว้ ๔ สูตรด้วยกันคือ
สูตรที่ ๑ เป็นสูตรหมึกชนิดแรกที่ใช้กันในภาคอีสาน ใช้ยางไม้ชนิดหนึ่งที่ชาวอีสานเรียกว่า "ต้นหมึก" เมือหักกิ่งหรือก้านออกไปแล้วจะมียางสีขาวหรือยางไม้ออกมา เมื่อยางนี้แห้งสียางจะ ออกดำๆ
สูตรที่ ๒ ใช้ดินหม้อ หรือเขม่าไฟที่จับเกาะตามก้นหม้อที่ใช้ฟืน หรือถ่านขูดเขม่าให้หลุดออกจากหม้อ แล้วเอาไปบดให้ละเอียด ผสมกับดีควาย
สูตรที่ ๓ ใช่ผงถ่านสีดำที่อยู่ในถ่านไฟฉายนำไปบดให้ละเอียดแล้วผสมกับยางไม้ "ต้นมูกเกี้ย" เมื่อสักลงบนผิวหนังจะได้ลายสักสีดำตามสีของผงถ่าน
สูตรที่ ๔ ใช้หมึกจีนชนิดแท่งนำไปฝนให้เป็นผงละเอียด แล้วผสมกับน้ำมันเสือและน้ำมันงาการใช้น้ำมันเสือซึ่งเป็นสัตว์ดุร้ายที่มีพลังอำนาจ อยู่ในตัวมาเป็นส่วนผสมทำให้เชื่อกันว่าเป็นการสักเพื่อให้ผลทางอยู่ยงคงกระพันชาตรี
นอกจากสูตรผสมหมึกดังกล่าวแล้ว อาจารย์จารุบุตร เรืองสุวรรณ ยังได้อธิบายสูตรผสมหมึกไว้อีกสูตรหนึ่งที่แตกต่างกันออกไปคือการใช้น้ำหมึกผสมใบมัน แกวเคี่ยวและเขม่าควันไฟเพื่อให้ออกสีดำแล้วผสมกับดีหมู (หรือดีควาย) จะทำให้ลวดลายสักดำสนิทและขึ้นมัน หรืออาจใช้ดีของสัตว์อื่นๆ เช่น วัว หมี งู ปลาช่อน เคี่ยวให้แห้งแทนได้
นอกจากเข็มสักและหมึกแล้ว บางสำนักจะมีอุปกรณ์ที่ช่วยในการลอกลายเพิ่มขึ้นมา ได้แก่ กระดาษลอกลาย กระดาษก๊อปปี้ และแม่พิมพ์ไม้ (คัดมาจาก รายงานผลการวิจัยลายสักที่พบในภาคกลางของประเทศไทย โดย สุลักษณ์ ศรีบุรี และทวีวงศ์ ศรีบุรี)
ลายสักนานาชาติ ลายสักและความนิยมในการสักมีขึ้นในหมู่มนุษยชาติมาแล้วไม่ต่ำกว่า ๔,๐๐๐ ปี ทั้งนี้จากการค้นพบพระศพของกษัตริย์ไอยคุปต์ที่มีอายุถึง ๔,๐๐๐ ปี สภาพศพอาบน้ำยาหรือ "มัมมี่" นั้น มีรอยสักสลับสีอย่างงดงาม
การสักเป็นภาพสลับสีอย่างสวยงามนั้น ชาวญีปุ่นได้รับการยกย่องว่ามีฝีมือมากที่สุด แต่ชาวโลกเพิ่งจะรู้ว่าช่างสักชาวญี่ปุ่นมีฝีมือยอดเยี่ยมที่สุดในโลกเมื่อกลางศตวรร ษที่ ๑๘ นี่เอง ทั้งที่ญี่ปุนมีฝีมือ เป็นเลิศในการสักภาพสลับสีอย่างสวยงามมาตั้งแต่ ๕๐๐ ปีก่อนคริสต์กาลแล้วเพราะก่อนหน้านั้นชนชาติญีปุ่นปิดประตูประเทศสำหรับชาวต่างชาติ ต่อเมื่อญีปุ่นเปิดประเทศต้อนรับชาวต่างชาติความเป็นผู้มีฝีมือในการสักของชาวญี่ปุ่ นจึงระบือลือเลื่องไปทั่วโลก ถึงกับมีการเปิดร้านหรูหราสำหรับรับสักลายเป็นล่ำเป็นสัน
ส่วนชาวเมารีของนิวซีแลนด์ และพวกไอนุของญี่ปุ่นภาคเหนือมีความเชื่อว่าการสักจะช่วยคุ้มครองความเป็นหนุ่มสาวแล ะความกระฉับกระเฉงของพวกเขาให้ยืนยงคงทน พวกแอซเตคและพวกมายาของเม็กซิโกในสมัยโบราณใช้การสักเป็นเครื่องหมายบอกตำแหน่งความเ ป็นใหญ่เป็นโตเปรียบได้กับเครื่องหมายแห่งเกียรติยศนั่นเอง
พวกบริตันส์ กอลส์ เยอรมัน และกรีก ชาวยุโรปสมัยโบราณ ต่างนิยมประเพณีการสักทั้งสิ้น เฮโรโดตุส นักปราชญ์ชาวกรีกได้บันทึกไว้ว่า พวกจารบุรุษในสมัยนั้นเมื่อเข้าไปสืบความลับของศัตรูแล้วจะโกนศรีษะสักความลับไว้ที่ กลางศรีษะแล้วทิ้งให้ผมยาวจึงกลับไปหาพวกตน การสักจึงเป็นวิธีช่วยให้จารบุรุษนำความลับผ่านแนวข้าศึกได้
สืบสายพระเวทย์ หลวงพ่อเปิ่นได้ศึกษาเล่าเรียน สรรพวิชา คาถา ไสยเวทย์ วิปัสสนากรรมฐาน จากพระอาจารย์ที่โด่งดังในสมัยนั้น อาทิ ตำรับตำรา คัมภีร์ใบลานโบราณ ของวัดบางพระ จากหลวงพ่อหิ่ม อินฺทโชโต ท่านสืบสานวิชาจากพระอธิการเจ้าคุณเฒ่า เจ้าตำรับการลงเลขสักยันต์เสื้อยันต์ ตำรายาสมุนไพรรักษาโรค
สายหลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก จ.สุพรรณบุรี ท่านเป็นศิษย์เอกของ หลวงพ่อโหน่ง วัดคลอง มะดัน พระอาจารย์ของพระสังฆราชปุ่น วัดโพธิ์ หลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ ผู้ค้นพบวิชาธรรมกายที่ทั่วประเทศรู้จัก
สายหลวงพ่อโอภาสี เป็นพระอาจารย์ที่โด่งดังอีกรูปหนึ่ง ท่านชอบบูชาไฟ เตโชกสิน ของที่คนถวายมาให้ท่าน ท่านจะโยนเข้ากองไฟหมด จนชาวบ้านนึกว่าท่านเป็นพระที่วิกลจริต
หลวงพ่อเปิ่น   สืบสานตำรับวิชา  ก่อนหลวงพ่อหิ่ม  อินฺทโชโต    จะมรณะภาพท่านได้ถ่ายทอดวิชาอาคม คาถาไสยเวทย์ และตำรายาสมุนไพร ให้แก่หลวงพ่อเปิ่นจนหมดสิ้น ด้วยท่านเลงเห็นว่า ต่อไปยุคหลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ จะเจริญก้าวหน้า รุ่งเรืองสุดขีด
สรรพวิชาอาคม ทางไสยเวทย์ แห่งลุ่มน้ำนครชัยศรี หลวงพ่อเปิ่นท่านได้ถ่ายทอดจนหมด ไม่ว่าจะเป็นการลงนะหน้าทอง ลงสาริกาลิ้นทอง และการลงอักขระสักยันต์อันมีชื่อเสียงโด่งดังในปัจจุบัน เมื่อคราวรื้อกุฏิหลวงพ่อหิ่ม และกุฏิริมน้ำของหลวงพ่อเปิ่น ได้พบตำราพระเวทย์คาถา คัมภีร์ใบลานเก็บอยู่ในหีบเหล็กเก่าแก่ และบนเพดานกุฏิ พบพระพุทธรูปเก่าปางต่าง ๆ และพระผงอีกจำนวนหนึ่ง
ตำราใบลาน มีทั้งตำราวิชาอาคม การฝังรูปฝังรอยเสน่ห์เมตตามหานิยม อักขระเลขยันต์ต่าง ๆ ตำรายารักษาโรค ในปัจจุบันได้มอบให้ พระครูอนุกูลพิศาลกิจ (เจ้าอาวาส) พระอาจารย์ต้อย พระอาจารย์ติ่ง พระอาจารย์อภิญญา เก็บรักษาไว้ ให้ศึกษา เมื่อลูกศิษย์ท่านใดมีเรื่องไม่เข้าใจ ท่านก็จะชี้แนะให้จนเข้าใจ
ตำนานการสักยันต์ของวัดบางพระ หลวงพ่อเปิ่นเป็นพระอาจารย์องค์หนึ่งของเมื่องไทยที่มีผู้คนรู้จักและพากันหลั่งไหลม าสักกันมากที่สุดแห่งหนึ่งกระทั่งสักไม่ทัน ต้องประสิทธิ์วิชาให้พระสงฆ์ที่เป็นศิษย์หลายรูปทำการสักแทนและเมื่อทำการสักแล้วหลว งพ่อท่านต้องเสกเป่าให้อีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ผู้ที่มาสักเกิดความมั่นใจยิ่งๆ ขึ้น
สรรพวิชาอาคม ทางไสยเวทย์ อันเข้มขลังลือชื่อ องค์หลวงพ่อท่านได้รับการถ่ายทอดจนหมดจากทุกอาจารย์ที่ไปเล่าเรียนมา ไม่ว่าจะเป็นการลงนะหน้าทอง ลงสาลิกาลิ้นทอง การลงอักขระสักยันต์ อันมีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในยุคนี้
ตำรามหายันต์วัดบางพระ รูปอักขระเลขยันต์ ที่หลวงพ่อเปิ่นสักให้นั้นมีความหมายทุกตัวอักขระ รูปลักษณ์ต่างๆ หลวงพ่อจะประสิทธิ์ประสาทให้แก่ทุกคนที่มาขอรูปยันต์ที่สักให้อาจจะไม่เหมือนกันหมดแ ล้วแต่หลวงพ่อจะดูว่าผู้นั้นเป็นใครมาจากไหน อักขระรูปลักษณ์ ที่สักกันส่วนมากจะใช้ คือ ยันต์หอมเชียง (พระพุทธ ๑๐๘) ยันต์เก้ายอด ยันต์งบน้ำอ้อย ยันต์แปดทิศ ยันต์สายสังวาลย์ ยันต์หนุมานออกศึกยันต์หนุมานอมเมือง ยันต์พ่อแก่ฤาษี ยันต์แม่ทัพ ยันต์ดำดื้อ ยันแดงดื้อ ยันต์เสือเผ่น ยันต์มงกุฎพระพุทธเจ้า ( หมวกเหล็ก ) ยันต์นกสาริกา ยันต์จิ้งจกสองหาง ยันต์องค์พระพุทธ ยันต์ราชสีห์ ยันต์เกราะเพชร ยันต์หมูทองแดง ยันต์ปลาไหล ยันต์ดอกบัว ยันต์พระราหู ยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ ยันต์ลิงลม ยันต์พระเจ้าสิบหกพระองค์ ยันต์พญาหงษ์ ยันต์ไตรสรณาคมน์ ยันต์หัวใจต่าง ๆ ฯลฯ
ขั้นตอนการสักยันต์ การสักยันต์ เริ่มด้วย หาดอกไท้ ธูปเทียน และค่ายกครู ๒๔ บาทมาขึ้นครูกับพระอาจารย์ที่สัก ต่อจากนั้นก็เลือกยันต์รูปลักษณ์ต่างๆ ที่จะสัก อาทิ เช่น เก้ายอด, แปดทิศ, งบน้ำอ้อย, รูปเสือเผ่น, หนุมาน, ฯลฯ
เมื่อเลือกแบบได้แล้ว ก็จุดตะเกียงน้ำมันก๊าด เอาพิมพ์รมควันให้เขม่าจับแบบพิมพ์ จากนั้นก็กดพิมพ์บนผิวหนังบริเวณที่ต้องการสัก บางยันต์ก็ใช้วิธีเขียนโดยใช้หมึกจีน ตีเส้น วาดไปบนผิวหนังก่อน ยันต์บางรูปสักโดยไม่ต้องใช้แม่พิมพ์ เครื่องมือที่ใช้ในการสักยันต์ ใช้เหล็กแหลม ใช้ก้านร่มผ่าปลายฝนปลายจนแหลม
การสักยันต์ ลงอักขระเลขยันต์ มีอยู่ ๒ อย่างคือ การสักน้ำมัน กับการสักน้ำหมึก
การสักน้ำมัน ส่วนมากจะใช้น้ำมันจันทร์หอมแช่ว่านหรือน้ำมันงาขาว บางสำนักจะผสมน้ำมันช้างตกมัน น้ำมันเสือโคร่ง การสักน้ำมันคนสมัยนี้นิยมกันมาก เพราะเป็นการสักยันต์โดยร่างกายไม่มีลวดลายให้เห็น เมื่อรอยสักตกสะเก็ดเนื้อก็สมานเป็นเนื้อเดียวกัน
การสักหมึก นิยมใช้หมึกจีนมาฝนกับน้ำพระพุทธมนต์ สมัยก่อนนิยมหาดีเสือ, ดีหมี, ดีงูเห่าเป็นส่วนผสม






วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ศิลปสถาปัตยกรรม


ศิลปสถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรม เป็นวิทยาการของการก่อสร้าง ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านประโยชน์ใช้สอย และการแสดงออกของมุษย์ที่เจริญแล้ว แม้แต่ในสังคมชุมชนที่มีความเป็นอยู่ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน ก็ยังมีการสรรสร้างงานสถาปัตยกรรม เพื่อสนองการใช้สอยขั้นพื้นฐาน ส่วนในสังคมที่เจริญแล้วจะเคื่องบ่งชี้พัฒนาการของสังคมที่แสดงความเป็นปึกแผ่นแน่นหนา และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของสัคมหรือกลุ่นคนนั้น ๆ (ผุสดี ทิพทัส2538)
สถาปัตยกรรม ประเภทของสถาปัตยกรรมขึ้นอยู่กับรูปแบบและกฎเกณฑ์ของสังคมในอดีตอาจจำแนกประเภทของสถาปัตยกรรมตามบทบาทของผู้อุปถัมภ์วานสถาปัตยกรรมในแต่ละกลุ่มชนได้ ประเภทของสถาปัตยกรรมจึงมีจำกัดเฉพาะอาคารของพระมหากษัตริย์หรือชนชั้นปกครอง กับอาคารทางศาสนา
ส่วนในปัจจุบันเราจำแนกประเภทของสถาปัตยกรรมเป็นหลายประเภทขึ้นตามความต้องกิจกรรมของมนุษย์ที่ตอบสนองต่อความต้องการทั้งทางกาย ทางความรู้สึก และทางความคิดที่เกิดจากสติปัญญาและความรอบรู้ของมุษย์ด้วย
ความต้องการพื้นฐานของมุษย์
Preservation: การดิ้นรน สงวนรักษาเพื่อการดำรงอยู่
Architectural: บ้าน วัด ตลาด ร้านค้า อาคารพาณิชย์ ศูนย์การค้า สำนักงาน โรงพยาบาล ธนาคาร ศาล ที่ทำการ ชุมชน
Recognition: ความต้องการการยอมรับจากผู้อื่น
Architectural: พระราชวัง คฤหาสน์ ปราสาท โบสถ์ วิหาร วัดวาอาราม อนุเสาวรีย์ สถาศึกษา ตึกระฟ้า
Response: ความต้องการการตอบสนองจากผูอื่น
Architectural: ห้องรับแขก ห้องรับรอง สโมสร สมาคม หอประชุม
Self Expression: ความต้องการแสดงออกของตนเอง
Architectural: โรงละคร สังคีตสถาน พิพิธภัณฑ์ หอสมุด หอศิล สนามกีฬา โรงแรม ศูนย์
สถาปัตยกรรม คือ ศิลปะและวิทยาการแห่งการก่อสร้าง ซึ่งอาจอธิบายได้อีกอย่างหนึ่งว่า หมายถึงการจัดที่ว่างสามมิติเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ กล่าวคือ เพื่อให้เกิดคุณค่า ๓ ประการได้แก่ (๑) ความสะดวกและเหมาะสมในการใช้สอย (๒) ความมั่นคงแข็งแรง (๓) ความชื่นชม [1]
สถาปัตยกรรม หมายรวมถึง
          อาคารหรือสิ่งก่อสร้าง รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสิ่งปลูกสร้างนั้น ที่มาจากการออกแบบของมนุษย์ ด้วยศาสตร์ทางด้านศิลปะ การจัดวางที่ว่าง ทัศนศิลป์ และวิศวกรรมการก่อสร้าง เพื่อประโยชน์ใช้สอย สถาปัตยกรรมยังเป็นสื่อความคิด และสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของสังคมในยุคนั้นๆอีกด้วย (http://th.wikipedia.org/wiki/สถาปัตยกรรม )
ณ เบื้องหน้านี้ คือ ดิน ฟ้า แล อากาศแห่งโลก ณ เบื้องหน้านี้คือ ภูมิ” แห่งประเทศ ภูมิแห่งอากาศ ภูมิแห่งดินน้ำลมไฟ ภูมิแห่งกาละ ภูมิแห่เทสะภูมิแห่งคำ ภูมิแห่งความ ภูมิแห่งปริศนาที่รอเราเข้าไปจัดการ ปรุง+แต่ง สร้าง+สรรค์ ด้วย จิต” ด้วย กรที่ละเอียดอ่อน ปรับ+ปรุง แต่ง+รส เจือ+กลิ่น ใส+เสียง สอด+สี ผูกพันเรื่องราวอันลึก+ล้ำ แห่งชีวิตจริง และชีวิตฟันของมนุษย์ ขึ้นเป็นสถาปัตยกรรมที่หมายให้เป็น ภูมิแห่งชีวิต จิตวิญญาณของผู้อาศัย.....สถาปัตยกรรมคือบ้านแห่งชีวิตจิตใจมนุษย์(ที่มา.ทิพย์สุดา ปทุมานนท์.2549.จิตวทยาสถาปัตยกรรมสวัสดี)

สถาปัตยกรรม (Architecture)  เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการก่อสร้างสิ่งก่อสร้าง อาคาร ที่อยู่อาศัยต่าง ๆ การวางผังเมือง การจัดผังบริเวณ การตกแต่งอาคาร การออกแบบก่อสร้าง ซึ่งเป็นงานศิลปะ ที่มีขนาดใหญ่ต้องใช้ผู้สร้างงานจำนวนมาก และเป็นงานศิลปะ ที่มีอายุยืนยาว สถาปัตยกรรม เป็นวิธีการจัดสรรบริเวณที่ว่างให้เกิดประโยชน์ใช้สอยตามความต้องการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับ ศาสตร์ในสาขาต่าง ๆ เช่น วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา และศิลปะ ความงดงาม และคุณค่าของสถาปัตยกรรม ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ ดังนี้ คือ
1. การจัดสรรบริเวณที่ว่างให้สัมพันธ์กันของส่วนต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก 
2.
 การจัดรูปทรงทางสถาปัตยกรรมให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย และสิ่งแวดล้อม 
3.
 การเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมกลมกลืน 
สถาปัตยกรรมแบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ 
1. ชนิดที่สร้างขึ้นเพื่อให้มนุษย์เข้าไปอาศัยอยู่ หรือประกอบกิจกรรมต่าง ๆ เช่น อาคาร บ้านเรือน โบสถ์ วิหาร ศาลา ฯลฯ
2. ชนิดที่สร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยอย่างอื่น ๆ เช่น อนุสาวรีย์ เจดีย์ สะพาน เป็นต้น ผู้สร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรม เรียนว่า สถาปนิก (Architect) 

ศิลปสถาปัตยกรรม (Architectural Arts) นั้นเป็นศิลปะ (Art) เป็นวิทยาศาสตร์ (Science)เป็นการออกแบบสรรค์สร้าง (Design) ที่ประจักษ์ออกมาเป็นรูปร่างหน้าตาที่งดงาม มีโครงสร้างที่แปลกใหม่อยู่ตลอดเวลา (Structure) เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ผู้ที่จะเลือกใช้อาคาร (Building)นั้นๆ
ศิลปะ (Art) เป็นงานที่สรรค์สร้างโดยธรรมชาติและมนุษยชาติ  โดยธรรมชาตินั้น (Natural Art)สร้างงานขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง และมีการเปลี่ยนแปลงเสริมแต่งอยู่ตลอดเวลา  มนุษย์เป็นผู้ตัดสินในความงดงามของ  งานที่ธรรมชาติสร้างขึ้น  แต่ก็มิได้ถือมาเป็นของตนเอง  นั่นคืองานศิลปในส่วนของธรรมชาติที่สร้างไว้ให้มนุษย์เป็นต้นแบบ  เป็นทฤษฎี  เป็นหลักการ  เป็นบทเรียนที่มนุษย์ได้ศึกษาหาความรู้จากธรรมชาติไม่รู้จบ  จะเป็นรูปร่าง รูปทรง เส้น สี แสง เงาที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวของวัสดุธรรมชาติ  ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์ลอกเลียนแบบธรรมชาติแทบทั้งสิ้น
เมื่อได้ศึกษาทำความเข้าใจในธรรมชาติในลักษณะของกายภาพของธรรมชาติแล้ว  ก็ศึกษาลึกลงไปในศาสตร์ของสรรพสิ่ง  การเกิด  การดำรงอยู่  การสลายดับสูญไปตามกาลเวลา  การที่จะบันทึกหรือจารึกไว้ศึกษาต่อไปนั้น  จะต้องขึ้นอยู่กับน้ำมือของมนุษย์  เพราะธรรมชาติมีกาลเวลาที่จะต้องเสื่อมสลายไปหรือแปรเปลี่ยนสภาพจากเดิมไปอยู่ในสถานะภาพใหม่  จะคงอยู่ตลอดไปให้มนุษย์มองเห็นทุกวันเวลาไม่
การรู้จักเส้น สี แสง เงานี้เอง  ทำให้มนุษย์สามารถบันทึกภาพจากธรรมชาติให้คงอยู่ตลอดไปได้โดยเส้น สี แสง เงาที่มนุษย์ได้มองเห็น  ผสมผสานกับความเชื่อเรื่องจิตวิญญาณ  โดยใช้ทักษะฝีมือ(Skills) สร้างเป็นงานหัตถศิลป (Handy craft) สามารถจินตนาการสร้างสรรค์ผลงานให้ผิดแผกไปจากธรรมชาติได้ (Creative Imagination) ผลงานเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการซึ่งความสวยงาม (Beautiful) อันปรากฏให้เห็นประจักษ์ต่อสายตา (Appealing) หรือมากกว่าความเป็นปกติธรรมดาสามัญที่เกิดขึ้น(Ordinary Significance)
มนุษย์จึงสามารถบันทึกธรรมชาติที่เป็นธรรมชาติ  และที่งดงามกว่าจริง  จึงเป็นงานที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น  ตามความต้องการ  ตามความพึงพอใจ  ตามที่จะสร้างสรรค์งานศิลปะอันวิจิตรบรรจงให้ใคร  ความเชื่อทำให้งานศิลปะมีความผิดแผกแตกต่างไปจากธรรมชาติ เราสร้างเพื่อใครให้ใครได้ใช้ตามความต้องการของเจ้าของงาน แต่ศิลปะนั้นจะต้องมีความงามอันเป็นสุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญาที่ผนวกระหว่างธรรมชาติกับศิลปะ มีความงามมีรสนิยม (Beauty and taste)สร้างภาพให้ปรากฏสามารถเลือกแยะแยะได้ว่าศิลปะอันใดมีความงามตอบสนองความพึงพอใจ ดังนั้นงานศิลปะจึงอยู่ที่ความงาม (aesthetics) ที่แต่ละบุคคลพึงพอใจ
ความสวยงามเป็นของแต่ละบุคคลที่ก่อเกิดขึ้นภายในใจของตนที่จะยอมรับในคุณภาพของความงามนั้นๆ ส่วนลึกของความรู้สึกในใจนี้เองเป็นจิตวิญญาณที่จะบอกถึง เส้น สี แสง เงา ความเป็นศิลปะทางด้านทฤษฏีทางศิลปะ การยอมรับในรูปร่าง รูปทรง การประสานกลมกลืนของสี ผลงานที่บ่งบอกถึงฝีมือ(Skills) ที่สุดยอดของงานช่าง (excellence of craft) ที่เป็นไปด้วยความเชื่อมั่น (truthfulness)เป็นต้นกำเนิดของงานที่แท้จริง (originality) ที่ได้คิดริเริ่มและไม่ซ้ำใคร มีความแหวกแนวจนบางครั้งเกิดเป็นสมบัติที่ล้ำค่า (non-specify property) 
รสนิยม (Taste) นั้นสำคัญอยู่ที่การพิจารณาดุลยพินิจที่จะวินิจฉัยประมาณการที่จะตัดสินใจ หรือมีวิจารณญาณในการหยั่งรู้ ประกอบกับความฉลาดหลักแหลม (critical judgment, discernment) ในการมองเห็นคุณค่าว่าอะไรคืองานที่ทำขึ้นมาอย่างสมสัดส่วนมีเครื่องประกอบที่สมบูรณ์แบบ (fitting)กลมกลืนกัน (harmonious) หรือมีความสวยงาม (beautiful prevailing) ที่สวยกว่า เด่นกว่า เหนือกว่าในวัฒนธรรมหรือในส่วนของบุคคล ตัวตนที่เป็นปัจเจกบุคคล
ผลงานจะต้องบ่งบอกระดับของการส่งเสริมด้านความสุข ความปิติ ยินดี ความเพลิดเพลิน ความพอใจ ความชื่นชม ปรีเปรม สร้างความสุขใจ(Delight) เมื่อสร้างสรรค์งานแล้วสามารถนำมาเป็นสสินค้าได้ (commodity)     มีคุณค่ายิ่งในการใช้ประโยชน์ ต่อผู้ใช้หรือไม่ก็เป็นสิ่งสำคัญค่อสังคม
สถาปัตยกรรมยังหมายถึง การออกแบบสภาพแวดล้อม (Environmental design) โดยมีข้อกำหนดทางกายภาพ (physical) อันหมายรวมไปถึง งานสถาปัตยกรรม งานทางด้านวิศวกรรม(engineering) งานโครงสร้าง (construction) งานภูมิสถาปัตยกรรม (landscape architecture) การออกแบบผังเมืองและการวางแผนผังเขตเมืองหลวงและเมืองอื่นๆ การวางผังเมืองนั้น (urban design)เป็นการออกแบบเฉพาะสถาปัตยกรรมในเมือง เฉพาะโครงสร้างของเมือง (urban structure) และพื้นที่ใช้งานภายในเมือง (space)
ส่วน City planning นั้นเป็นกิจกรรมที่ถูกกำหนดขึ้นไว้ในอนาคต ด้านกายภาพที่สอดประสานกันตามเงื่อนไขของชุมชนที่ต้องการเชิงประจักษ์ในชีวิตประจำวัน และสามารถพยากรณ์ได้ว่า ชุมชนต้องการอะไรในอนาคต (future requirement) แผนที่ตั้งไว้นั้นตอบสนองทางด้านกฏหมาย ด้านการเงิน และโปรแกรมของโครงสร้างสามารถปฏิบัติตามแผนได้ หรือบางทีเราก็เรียกว่าการวางผังเมือง (town planning) หรือ urban planning
Space planning: เป็นการออกแบบสถาปัตยกรมมและสถาปัตยกรรมภายในที่มีการจัดการหรือปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับแผนผัง แผนงานแบบ (planning, layout) การกระทำให้แล้วเสร็จสมบูรณ์ในการใช้ที่ว่าง (space) อันที่จะเสนอหรือบรรจุลงไปในอาคาร (proposed or existing building) ให้มีอยู่หรือดำรงอยู่ในอาคารนั้น
Interior design: เป็นศิลปะ (art) เป็นธุรกิจหรือเป็นเสมือนมืออาชีพในการออกแบบจัดผัง และเป็นที่ปรึกษาในงานออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน หมายรวมไปถึงการออกแบบควบคุมโทนสี ครุภัณฑ์(furnishing) ไม่ว่าจะเป็นความพร้อมต่างๆ   เครื่องประกอบต่างๆ (fitting) งานเก็บรายละเอียดพื้นผิว(finishing) ตลอดจนทุกสิ่งทุกอย่างของงานสถาปัตยกรรมให้สิ้นสุดลง
ดังที่กล่าวมานั้นเป็นความหมายที่หมายรวมของคำว่า ศิลปสถาปัตยกรรม (Art of Architecture) “Art  the  conscience  of  use  skill, craft  and  creative  imagination  in  the production  of  what  is  beautiful,  appealing,  or of  the  more  than  ordinary  significance”
Architecture: เป็นวิทยาศาสตร์ (Science) สาขาหนึ่งขององค์ความรู้ที่เกี่ยวกับรูปร่างที่ประกอบขึ้นจากปัจจัย หรือการยอมรับโดยตรงจากการสังเกตุ (Observation) การทดลอง(Experimental) การสืบสาวราวเรื่องต่างๆ และวิธีการศึกษาระบบการจัดการ (Systematically arranged) และแสดงให้เห็นถึงการจัดการในเชิงปฏิบัติการของกฏหมาย
Architecture: เป็นเทคโนโลยี (Technology) อันเป็นการประยุกต์ทางด้านวิทยาศาสตร์ นำมาจัดการองค์ความรู้ที่จะสามารถสร้างสรรค์เทคนิควิธีการ และวัสดุให้มีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิต สังคม และสภาพแวดล้อม โดยใช้เทคนิค (Techniques) ที่เป็นศาสตร์และศิลปะ หรือศิลปะวิทยาการโดยทั่วๆไปนำมาใช้ในงาน อันมีTechniques ที่เกี่ยวกับงานกิอสร้างอาคาร เป็นศาสตร์และศิลปทางด้านรูปร่างshaping องค์ประกอบต่างๆ (ornamenting) ของเครื่องประดับตกแต่ง หรือการรวบรวมวัสดุอุปกรณ์ทางด้านโครงสร้าง
มีการรวบรวมโครงสร้างหรือความคิดรวบยอด (Concept) ของงานที่เกี่ยวกับศิลปะที่เรียกได้ว่าเป็น Architectonic
Architecture: เป็นง่านวิศวกรรมที่เป็นศิลปะและศาสตร์ในการประยุกต์ใช้กฎทางวิทยาศาสตร์ที่มีหลักการทางด้านปฏิบัติงานในการออกแบบและโครงสร้างทางด้านการก่อสร้าง (construction) วัสดุอุปกรณ์ (equipment) เครื่องมือต่างๆและระบบที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรม
งานสถาปัตยกรรมต้องมีความแน่นอน (Firmness) มีสภาพการณ์ (state) สภาวะหรือคุณภาพ(quality) ของความสมบูรณ์ของโครงสร้าง (being solidity constructed)
Architecture: เป็นศาสตร์ทางพฤติกรรม (behavior science) อันประกอบด้วยศาสตร์หลายๆแขนงด้วยกัน เช่น สังคมวิทยา (sociology) และมนุษยวิทยา (Anthropology) เป็นการค้นพบจากการสังเกตพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม
สังคมศาสตร์(Sociology) เป็นศาสตร์ที่ศึกษาถึงสถานภาพของมนุษย์ในสังคมที่สัมพันธ์กัน ศึกษาถึงลักษณะเฉพาะของต้นกำเนิด (origin) การพัฒนาหรือพัฒนาการ (development) โครงสร้าง(structure) การใช้สอยในการทำงาน (functioning) และเก็บรวบรวมพฤติกรรมของกลุ่มมนุษยชาติ
มนุษยวิทยา : เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์ ถึงต้นกำเนิดทางด้านกายภาพ (physical)และวัฒนธรรม (culture) พัฒนาการ (development) และสภาพแวดล้อม (environmental) และความสัมพันธ์ทางสังคมของมนุษยชาติ หรือมวลมนุษย์
Architecture: เป็นภูมิสถาปัตยกรรม (landscape Architecture) เป็นศิลป เป็นธุรกิจ หรือมืออาชีพ ของการออกแบบ การจัดเตรียม การจัดการ การกำหนดหรือการแก้ไขปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ดัดแปลง แปรสภาพ ลดตัดทอน แปรผันจากของเดิม การจัดการกับภูมิสถาปัตยกรรมให้เกิดความสวยงาม หรือการปฏิบัติจริงที่ได้ผลอย่างแท้จริง ที่เป็นเหตุเป็นผล สรุปรวบยอดแล้ว (Francis D.K.Ching.1995)