วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ศิลปสถาปัตยกรรม


ศิลปสถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรม เป็นวิทยาการของการก่อสร้าง ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านประโยชน์ใช้สอย และการแสดงออกของมุษย์ที่เจริญแล้ว แม้แต่ในสังคมชุมชนที่มีความเป็นอยู่ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน ก็ยังมีการสรรสร้างงานสถาปัตยกรรม เพื่อสนองการใช้สอยขั้นพื้นฐาน ส่วนในสังคมที่เจริญแล้วจะเคื่องบ่งชี้พัฒนาการของสังคมที่แสดงความเป็นปึกแผ่นแน่นหนา และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของสัคมหรือกลุ่นคนนั้น ๆ (ผุสดี ทิพทัส2538)
สถาปัตยกรรม ประเภทของสถาปัตยกรรมขึ้นอยู่กับรูปแบบและกฎเกณฑ์ของสังคมในอดีตอาจจำแนกประเภทของสถาปัตยกรรมตามบทบาทของผู้อุปถัมภ์วานสถาปัตยกรรมในแต่ละกลุ่มชนได้ ประเภทของสถาปัตยกรรมจึงมีจำกัดเฉพาะอาคารของพระมหากษัตริย์หรือชนชั้นปกครอง กับอาคารทางศาสนา
ส่วนในปัจจุบันเราจำแนกประเภทของสถาปัตยกรรมเป็นหลายประเภทขึ้นตามความต้องกิจกรรมของมนุษย์ที่ตอบสนองต่อความต้องการทั้งทางกาย ทางความรู้สึก และทางความคิดที่เกิดจากสติปัญญาและความรอบรู้ของมุษย์ด้วย
ความต้องการพื้นฐานของมุษย์
Preservation: การดิ้นรน สงวนรักษาเพื่อการดำรงอยู่
Architectural: บ้าน วัด ตลาด ร้านค้า อาคารพาณิชย์ ศูนย์การค้า สำนักงาน โรงพยาบาล ธนาคาร ศาล ที่ทำการ ชุมชน
Recognition: ความต้องการการยอมรับจากผู้อื่น
Architectural: พระราชวัง คฤหาสน์ ปราสาท โบสถ์ วิหาร วัดวาอาราม อนุเสาวรีย์ สถาศึกษา ตึกระฟ้า
Response: ความต้องการการตอบสนองจากผูอื่น
Architectural: ห้องรับแขก ห้องรับรอง สโมสร สมาคม หอประชุม
Self Expression: ความต้องการแสดงออกของตนเอง
Architectural: โรงละคร สังคีตสถาน พิพิธภัณฑ์ หอสมุด หอศิล สนามกีฬา โรงแรม ศูนย์
สถาปัตยกรรม คือ ศิลปะและวิทยาการแห่งการก่อสร้าง ซึ่งอาจอธิบายได้อีกอย่างหนึ่งว่า หมายถึงการจัดที่ว่างสามมิติเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ กล่าวคือ เพื่อให้เกิดคุณค่า ๓ ประการได้แก่ (๑) ความสะดวกและเหมาะสมในการใช้สอย (๒) ความมั่นคงแข็งแรง (๓) ความชื่นชม [1]
สถาปัตยกรรม หมายรวมถึง
          อาคารหรือสิ่งก่อสร้าง รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสิ่งปลูกสร้างนั้น ที่มาจากการออกแบบของมนุษย์ ด้วยศาสตร์ทางด้านศิลปะ การจัดวางที่ว่าง ทัศนศิลป์ และวิศวกรรมการก่อสร้าง เพื่อประโยชน์ใช้สอย สถาปัตยกรรมยังเป็นสื่อความคิด และสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของสังคมในยุคนั้นๆอีกด้วย (http://th.wikipedia.org/wiki/สถาปัตยกรรม )
ณ เบื้องหน้านี้ คือ ดิน ฟ้า แล อากาศแห่งโลก ณ เบื้องหน้านี้คือ ภูมิ” แห่งประเทศ ภูมิแห่งอากาศ ภูมิแห่งดินน้ำลมไฟ ภูมิแห่งกาละ ภูมิแห่เทสะภูมิแห่งคำ ภูมิแห่งความ ภูมิแห่งปริศนาที่รอเราเข้าไปจัดการ ปรุง+แต่ง สร้าง+สรรค์ ด้วย จิต” ด้วย กรที่ละเอียดอ่อน ปรับ+ปรุง แต่ง+รส เจือ+กลิ่น ใส+เสียง สอด+สี ผูกพันเรื่องราวอันลึก+ล้ำ แห่งชีวิตจริง และชีวิตฟันของมนุษย์ ขึ้นเป็นสถาปัตยกรรมที่หมายให้เป็น ภูมิแห่งชีวิต จิตวิญญาณของผู้อาศัย.....สถาปัตยกรรมคือบ้านแห่งชีวิตจิตใจมนุษย์(ที่มา.ทิพย์สุดา ปทุมานนท์.2549.จิตวทยาสถาปัตยกรรมสวัสดี)

สถาปัตยกรรม (Architecture)  เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการก่อสร้างสิ่งก่อสร้าง อาคาร ที่อยู่อาศัยต่าง ๆ การวางผังเมือง การจัดผังบริเวณ การตกแต่งอาคาร การออกแบบก่อสร้าง ซึ่งเป็นงานศิลปะ ที่มีขนาดใหญ่ต้องใช้ผู้สร้างงานจำนวนมาก และเป็นงานศิลปะ ที่มีอายุยืนยาว สถาปัตยกรรม เป็นวิธีการจัดสรรบริเวณที่ว่างให้เกิดประโยชน์ใช้สอยตามความต้องการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับ ศาสตร์ในสาขาต่าง ๆ เช่น วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา และศิลปะ ความงดงาม และคุณค่าของสถาปัตยกรรม ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ ดังนี้ คือ
1. การจัดสรรบริเวณที่ว่างให้สัมพันธ์กันของส่วนต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก 
2.
 การจัดรูปทรงทางสถาปัตยกรรมให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย และสิ่งแวดล้อม 
3.
 การเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมกลมกลืน 
สถาปัตยกรรมแบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ 
1. ชนิดที่สร้างขึ้นเพื่อให้มนุษย์เข้าไปอาศัยอยู่ หรือประกอบกิจกรรมต่าง ๆ เช่น อาคาร บ้านเรือน โบสถ์ วิหาร ศาลา ฯลฯ
2. ชนิดที่สร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยอย่างอื่น ๆ เช่น อนุสาวรีย์ เจดีย์ สะพาน เป็นต้น ผู้สร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรม เรียนว่า สถาปนิก (Architect) 

ศิลปสถาปัตยกรรม (Architectural Arts) นั้นเป็นศิลปะ (Art) เป็นวิทยาศาสตร์ (Science)เป็นการออกแบบสรรค์สร้าง (Design) ที่ประจักษ์ออกมาเป็นรูปร่างหน้าตาที่งดงาม มีโครงสร้างที่แปลกใหม่อยู่ตลอดเวลา (Structure) เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ผู้ที่จะเลือกใช้อาคาร (Building)นั้นๆ
ศิลปะ (Art) เป็นงานที่สรรค์สร้างโดยธรรมชาติและมนุษยชาติ  โดยธรรมชาตินั้น (Natural Art)สร้างงานขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง และมีการเปลี่ยนแปลงเสริมแต่งอยู่ตลอดเวลา  มนุษย์เป็นผู้ตัดสินในความงดงามของ  งานที่ธรรมชาติสร้างขึ้น  แต่ก็มิได้ถือมาเป็นของตนเอง  นั่นคืองานศิลปในส่วนของธรรมชาติที่สร้างไว้ให้มนุษย์เป็นต้นแบบ  เป็นทฤษฎี  เป็นหลักการ  เป็นบทเรียนที่มนุษย์ได้ศึกษาหาความรู้จากธรรมชาติไม่รู้จบ  จะเป็นรูปร่าง รูปทรง เส้น สี แสง เงาที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวของวัสดุธรรมชาติ  ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์ลอกเลียนแบบธรรมชาติแทบทั้งสิ้น
เมื่อได้ศึกษาทำความเข้าใจในธรรมชาติในลักษณะของกายภาพของธรรมชาติแล้ว  ก็ศึกษาลึกลงไปในศาสตร์ของสรรพสิ่ง  การเกิด  การดำรงอยู่  การสลายดับสูญไปตามกาลเวลา  การที่จะบันทึกหรือจารึกไว้ศึกษาต่อไปนั้น  จะต้องขึ้นอยู่กับน้ำมือของมนุษย์  เพราะธรรมชาติมีกาลเวลาที่จะต้องเสื่อมสลายไปหรือแปรเปลี่ยนสภาพจากเดิมไปอยู่ในสถานะภาพใหม่  จะคงอยู่ตลอดไปให้มนุษย์มองเห็นทุกวันเวลาไม่
การรู้จักเส้น สี แสง เงานี้เอง  ทำให้มนุษย์สามารถบันทึกภาพจากธรรมชาติให้คงอยู่ตลอดไปได้โดยเส้น สี แสง เงาที่มนุษย์ได้มองเห็น  ผสมผสานกับความเชื่อเรื่องจิตวิญญาณ  โดยใช้ทักษะฝีมือ(Skills) สร้างเป็นงานหัตถศิลป (Handy craft) สามารถจินตนาการสร้างสรรค์ผลงานให้ผิดแผกไปจากธรรมชาติได้ (Creative Imagination) ผลงานเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการซึ่งความสวยงาม (Beautiful) อันปรากฏให้เห็นประจักษ์ต่อสายตา (Appealing) หรือมากกว่าความเป็นปกติธรรมดาสามัญที่เกิดขึ้น(Ordinary Significance)
มนุษย์จึงสามารถบันทึกธรรมชาติที่เป็นธรรมชาติ  และที่งดงามกว่าจริง  จึงเป็นงานที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น  ตามความต้องการ  ตามความพึงพอใจ  ตามที่จะสร้างสรรค์งานศิลปะอันวิจิตรบรรจงให้ใคร  ความเชื่อทำให้งานศิลปะมีความผิดแผกแตกต่างไปจากธรรมชาติ เราสร้างเพื่อใครให้ใครได้ใช้ตามความต้องการของเจ้าของงาน แต่ศิลปะนั้นจะต้องมีความงามอันเป็นสุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญาที่ผนวกระหว่างธรรมชาติกับศิลปะ มีความงามมีรสนิยม (Beauty and taste)สร้างภาพให้ปรากฏสามารถเลือกแยะแยะได้ว่าศิลปะอันใดมีความงามตอบสนองความพึงพอใจ ดังนั้นงานศิลปะจึงอยู่ที่ความงาม (aesthetics) ที่แต่ละบุคคลพึงพอใจ
ความสวยงามเป็นของแต่ละบุคคลที่ก่อเกิดขึ้นภายในใจของตนที่จะยอมรับในคุณภาพของความงามนั้นๆ ส่วนลึกของความรู้สึกในใจนี้เองเป็นจิตวิญญาณที่จะบอกถึง เส้น สี แสง เงา ความเป็นศิลปะทางด้านทฤษฏีทางศิลปะ การยอมรับในรูปร่าง รูปทรง การประสานกลมกลืนของสี ผลงานที่บ่งบอกถึงฝีมือ(Skills) ที่สุดยอดของงานช่าง (excellence of craft) ที่เป็นไปด้วยความเชื่อมั่น (truthfulness)เป็นต้นกำเนิดของงานที่แท้จริง (originality) ที่ได้คิดริเริ่มและไม่ซ้ำใคร มีความแหวกแนวจนบางครั้งเกิดเป็นสมบัติที่ล้ำค่า (non-specify property) 
รสนิยม (Taste) นั้นสำคัญอยู่ที่การพิจารณาดุลยพินิจที่จะวินิจฉัยประมาณการที่จะตัดสินใจ หรือมีวิจารณญาณในการหยั่งรู้ ประกอบกับความฉลาดหลักแหลม (critical judgment, discernment) ในการมองเห็นคุณค่าว่าอะไรคืองานที่ทำขึ้นมาอย่างสมสัดส่วนมีเครื่องประกอบที่สมบูรณ์แบบ (fitting)กลมกลืนกัน (harmonious) หรือมีความสวยงาม (beautiful prevailing) ที่สวยกว่า เด่นกว่า เหนือกว่าในวัฒนธรรมหรือในส่วนของบุคคล ตัวตนที่เป็นปัจเจกบุคคล
ผลงานจะต้องบ่งบอกระดับของการส่งเสริมด้านความสุข ความปิติ ยินดี ความเพลิดเพลิน ความพอใจ ความชื่นชม ปรีเปรม สร้างความสุขใจ(Delight) เมื่อสร้างสรรค์งานแล้วสามารถนำมาเป็นสสินค้าได้ (commodity)     มีคุณค่ายิ่งในการใช้ประโยชน์ ต่อผู้ใช้หรือไม่ก็เป็นสิ่งสำคัญค่อสังคม
สถาปัตยกรรมยังหมายถึง การออกแบบสภาพแวดล้อม (Environmental design) โดยมีข้อกำหนดทางกายภาพ (physical) อันหมายรวมไปถึง งานสถาปัตยกรรม งานทางด้านวิศวกรรม(engineering) งานโครงสร้าง (construction) งานภูมิสถาปัตยกรรม (landscape architecture) การออกแบบผังเมืองและการวางแผนผังเขตเมืองหลวงและเมืองอื่นๆ การวางผังเมืองนั้น (urban design)เป็นการออกแบบเฉพาะสถาปัตยกรรมในเมือง เฉพาะโครงสร้างของเมือง (urban structure) และพื้นที่ใช้งานภายในเมือง (space)
ส่วน City planning นั้นเป็นกิจกรรมที่ถูกกำหนดขึ้นไว้ในอนาคต ด้านกายภาพที่สอดประสานกันตามเงื่อนไขของชุมชนที่ต้องการเชิงประจักษ์ในชีวิตประจำวัน และสามารถพยากรณ์ได้ว่า ชุมชนต้องการอะไรในอนาคต (future requirement) แผนที่ตั้งไว้นั้นตอบสนองทางด้านกฏหมาย ด้านการเงิน และโปรแกรมของโครงสร้างสามารถปฏิบัติตามแผนได้ หรือบางทีเราก็เรียกว่าการวางผังเมือง (town planning) หรือ urban planning
Space planning: เป็นการออกแบบสถาปัตยกรมมและสถาปัตยกรรมภายในที่มีการจัดการหรือปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับแผนผัง แผนงานแบบ (planning, layout) การกระทำให้แล้วเสร็จสมบูรณ์ในการใช้ที่ว่าง (space) อันที่จะเสนอหรือบรรจุลงไปในอาคาร (proposed or existing building) ให้มีอยู่หรือดำรงอยู่ในอาคารนั้น
Interior design: เป็นศิลปะ (art) เป็นธุรกิจหรือเป็นเสมือนมืออาชีพในการออกแบบจัดผัง และเป็นที่ปรึกษาในงานออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน หมายรวมไปถึงการออกแบบควบคุมโทนสี ครุภัณฑ์(furnishing) ไม่ว่าจะเป็นความพร้อมต่างๆ   เครื่องประกอบต่างๆ (fitting) งานเก็บรายละเอียดพื้นผิว(finishing) ตลอดจนทุกสิ่งทุกอย่างของงานสถาปัตยกรรมให้สิ้นสุดลง
ดังที่กล่าวมานั้นเป็นความหมายที่หมายรวมของคำว่า ศิลปสถาปัตยกรรม (Art of Architecture) “Art  the  conscience  of  use  skill, craft  and  creative  imagination  in  the production  of  what  is  beautiful,  appealing,  or of  the  more  than  ordinary  significance”
Architecture: เป็นวิทยาศาสตร์ (Science) สาขาหนึ่งขององค์ความรู้ที่เกี่ยวกับรูปร่างที่ประกอบขึ้นจากปัจจัย หรือการยอมรับโดยตรงจากการสังเกตุ (Observation) การทดลอง(Experimental) การสืบสาวราวเรื่องต่างๆ และวิธีการศึกษาระบบการจัดการ (Systematically arranged) และแสดงให้เห็นถึงการจัดการในเชิงปฏิบัติการของกฏหมาย
Architecture: เป็นเทคโนโลยี (Technology) อันเป็นการประยุกต์ทางด้านวิทยาศาสตร์ นำมาจัดการองค์ความรู้ที่จะสามารถสร้างสรรค์เทคนิควิธีการ และวัสดุให้มีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิต สังคม และสภาพแวดล้อม โดยใช้เทคนิค (Techniques) ที่เป็นศาสตร์และศิลปะ หรือศิลปะวิทยาการโดยทั่วๆไปนำมาใช้ในงาน อันมีTechniques ที่เกี่ยวกับงานกิอสร้างอาคาร เป็นศาสตร์และศิลปทางด้านรูปร่างshaping องค์ประกอบต่างๆ (ornamenting) ของเครื่องประดับตกแต่ง หรือการรวบรวมวัสดุอุปกรณ์ทางด้านโครงสร้าง
มีการรวบรวมโครงสร้างหรือความคิดรวบยอด (Concept) ของงานที่เกี่ยวกับศิลปะที่เรียกได้ว่าเป็น Architectonic
Architecture: เป็นง่านวิศวกรรมที่เป็นศิลปะและศาสตร์ในการประยุกต์ใช้กฎทางวิทยาศาสตร์ที่มีหลักการทางด้านปฏิบัติงานในการออกแบบและโครงสร้างทางด้านการก่อสร้าง (construction) วัสดุอุปกรณ์ (equipment) เครื่องมือต่างๆและระบบที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรม
งานสถาปัตยกรรมต้องมีความแน่นอน (Firmness) มีสภาพการณ์ (state) สภาวะหรือคุณภาพ(quality) ของความสมบูรณ์ของโครงสร้าง (being solidity constructed)
Architecture: เป็นศาสตร์ทางพฤติกรรม (behavior science) อันประกอบด้วยศาสตร์หลายๆแขนงด้วยกัน เช่น สังคมวิทยา (sociology) และมนุษยวิทยา (Anthropology) เป็นการค้นพบจากการสังเกตพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม
สังคมศาสตร์(Sociology) เป็นศาสตร์ที่ศึกษาถึงสถานภาพของมนุษย์ในสังคมที่สัมพันธ์กัน ศึกษาถึงลักษณะเฉพาะของต้นกำเนิด (origin) การพัฒนาหรือพัฒนาการ (development) โครงสร้าง(structure) การใช้สอยในการทำงาน (functioning) และเก็บรวบรวมพฤติกรรมของกลุ่มมนุษยชาติ
มนุษยวิทยา : เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์ ถึงต้นกำเนิดทางด้านกายภาพ (physical)และวัฒนธรรม (culture) พัฒนาการ (development) และสภาพแวดล้อม (environmental) และความสัมพันธ์ทางสังคมของมนุษยชาติ หรือมวลมนุษย์
Architecture: เป็นภูมิสถาปัตยกรรม (landscape Architecture) เป็นศิลป เป็นธุรกิจ หรือมืออาชีพ ของการออกแบบ การจัดเตรียม การจัดการ การกำหนดหรือการแก้ไขปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ดัดแปลง แปรสภาพ ลดตัดทอน แปรผันจากของเดิม การจัดการกับภูมิสถาปัตยกรรมให้เกิดความสวยงาม หรือการปฏิบัติจริงที่ได้ผลอย่างแท้จริง ที่เป็นเหตุเป็นผล สรุปรวบยอดแล้ว (Francis D.K.Ching.1995)





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น