วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ภาพแนว เซอร์เรียว (Surrealism)


ภาพแนว เซอร์เรียว (Surrealism) 
ภาพวาดและภาพประกอบของ Pierre Mornet จะเป็นแนวเซอร์เรียว (Surrealism) ทำให้ภาพประกอบของ Mornet นั้นเป็นภาพวาดศิลปะดีๆ นี่เอง
โดยสไตล์งานของ Mornet จะเป็นภาพที่ดูนิ่งๆ แต่ก็ไม่แข็ง ตัวละครจะดูมีอารมณ์ชืดๆ เหมือนกำลังฝันอยู่ ทำให้ภาพของ Mornet นั้นเกินระดับที่จะนำมาเป็นภาพประกอบในหนังสือ ทำให้เป็นเหตุผลว่างาน Original ส่วนมากของเค้าถูกซื้อไปจัดแสดงใน Gallery Art มากมายทั่วโลก
Pierre Mornet เป็นสมาชิกของ Marlena Agency ซึ่งเป็นที่รวมศิลปินยอดฝีมือไว้มากมาย และยังเป็นที่เก็บภาพวาดต้นฉบับของศิลปินแต่ละคนเพื่อเป็นตัวแทนนำไปจัดแสดงยังหอศิลป์ต่างๆ อีกด้วย

♂ Dream Imagination Surrealism Surreal art Concept Art Writing Prompt: The Aerial Gas Station and Churro Stand    Gathering / Naoto Hattori\
Surreal Art Gallery        ♂ Dream imagination surrealism Surreal art man fly book in the sky paintings by Vladmir Kush man in grass field look at the sky
"Love is like playing the piano. First you must start with the rules then forget the rules and play from your heart."   ♂ Dream ✚ Imagination ✚ Surrealism surreal art Truck carries dreams
Surreal art: Narcissism    Surreal Art Sequence by Patricia Villanueva
♂ Dream imagination surrealism Surreal art Green City in the Sky     Surrealism Art modern artwork poster canvas art by Artistico, $29.00
Stephano Bonazzi Surreal Art via musetouch.net       ♂ Dream imagination surrealism surreal art Digital Surrealism by Marcel Caram
♂ Dream Imagination Surrealism surreal art underdress man with fish    Portrait art, mid century modern, surreal art, gift for her - Balloons. 7x9" Collage Paper Print


วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Installation Art ศิลปะจัดวาง

ศิลปะจัดวาง(Installation Art) 
Sayaka Ganz - Emergence (2011) - installation art from discarded plastic
หมายถึงประเภทของงานศิลปะที่มีที่ตั้งเฉพาะจุด, เป็นงานสามมิติ ที่ออกแบบเพื่อที่จะแปรสภาพการรับรู้ของสิ่งแวดล้อม (Perception of a Space)โดยทั่วไปแล้ว “ศิลปะจัดวาง” จะหมายถึงศิลปะภายในตัวสิ่งก่อสร้าง ถ้าตั้งอยู่ภายนอกก็มักจะเรียกว่า “ศิลปะภูมิทัศน์” (Land 
Art)และศิลปะสองประเภทนี้คาบเกี่ยวกัน ศิลปะจัดวางอาจจะเป็นได้ทั้งศิลปะที่ติดตั้งอย่างถาวรหรือเพียงชั่วคราวก็ได้ ศิลปะจัดวางได้รับการติดตั้งในการแสดงงานนิทรรศการศิลปะ เช่น ในพิพิธภัณฑ์หรือหอศิลป์ หรือในบริเวณสถานที่ส่วนบุคคลหรือสถานที่สาธารณะ ประเภทของงานก็ครอบคลุมตั้งแต่การใช้วัสดุที่พบโดยทั่วไป ที่มักจะเลือกสรรจากวัสดุที่ทำให้เกิดผลกระทบกับอารมณ์ รวมไปถึงวัตถุสมัยใหม่เช่นวิดีโอ,เสียง,การแสดง,และอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ศิลปะจัดวางหลายชิ้นเป็นศิลปะเฉพาะที่ (Site-Specific Art)ซึ่งหมายความว่าเป็นงานที่ออกแบบให้ติดตั้งตรงตำแหน่งหรือสถานที่ที่สร้างงานศิลปะโดยเฉพาะเท่านั้น
installation art, with light, tree and umbrella                   Matteo Pugliese #installation #art #statement

Clemens Behr          Awesome installation  #installation #art #paper
Love it! #book installation #art           Installation art
















วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การวาดเส้น (Drawing)

การวาดเส้น (Drawing) เพื่อฝึกฝนทักษะขั้นพื้นฐาน


         วาดเส้น (Drawing) เป็นวิธีการสร้างภาพโดยวิธีที่ง่ายและรวดเร็ว  เพื่อสื่อความหมายทางการเห็นขั้นเริ่มแรกของมนุษย์ด้วยปัจจัยขั้นพื้นฐาน คือ ร่องรอยต่าง ๆ และเครื่องมือง่าย ๆ ที่อยู่ใกล้ตัว เช่น ถ่าน เศษไม้ หรือแม้แต่นิ้วมือของตนเอง  ซึ่งมนุษย์ต้องการแสดงออกในบางอย่างที่เป็นส่วนตนออกมาให้ปรากฏ  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความเชื่อ ความนึกคิด อารมณ์ความรู้สึก หรือแม้แต่ร่องรอยง่าย ๆ ที่ทำขึ้นมาเอง 
         วาดเส้นเป็นพื้นฐานของงานทัศนศิลป์และออกแบบ  เช่น  จิตรกรรม  ประติมากรรม  ภาพพิมพ์ สถาปัตยกรรม  ออกแบบตกแต่ง  ศิลปะไทย  ลายรดน้ำ  เป็นต้น ก่อนที่เราจะสร้างสรรค์งานศิลปะแขนงต่าง ๆ ดังที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น จำเป็นจะต้องมีความชำนาญทางการวาดเส้นให้แม่นยำเสียก่อน  เมื่อมีความชำนาญทางการวาดเส้นแล้วก็จะทำให้การทำงานศิลปะต่าง ๆ ง่ายขึ้น
วัสดุอุปกรณ์ในการวาดเส้น
         ๑. กระดานรองเขียน ขนาด ๔๐ x ๖๐ เซนติเมตรโดยประมาณ ความหนาประมาณ ๔ มิลลิเมตร

         ๒. กระดาษ กระดาษสำหรับวาดเส้นมีหลายชนิด สามารถเลือกใช้ได้ ตามเทคนิคของการวาดเส้น ซึ่งต้องดูคุณสมบัติและความเหมาะสม เช่น น้ำหนัก การซึมซับ และผิวสัมผัส

         ๓. ยางลบ

         ๔. ตัวหนีบกระดาษ

         ๕. มีดเหลาดินสอ
         ๖. เครื่องเขียน อาจแบ่งออกเป็น
             ๖.๑ ถ่าน  มีคุณลักษณะต่างกันเนื่องจากความละเอียด ความแข็งของเนื้อถ่าน เช่น

                   - ถ่านไม้  เป็นถ่านมีความแข็ง เปราะ คุณสมบัติในการวาดให้น้ำหนักอ่อนแก่ที่นุ่มนวลได้ค่อนข้างมาก  เหมาะสำหรับการเขียนแสงเงาที่นุ่มนวล และเงาที่เป็นพื้นที่กว้าง เช่น การเขียนภาพคนเหมือน ภาพเปลือย ทิวทัศน์ และภาพหุ่นนิ่งต่าง ๆ มีส่วนช่วยจับลักษณะแสงเงาส่วนรวมเหมาะกับการเขียนลงบนกระดาษปรู๊ฟ (
Proof) หรือกระดาษหนังสือพิมพ์ 
                    - ถ่านแท่ง หรือ เกรยอง (Crayon) เป็นถ่านแท่งสี่เหลี่ยมมีความแข็งปานกลาง สามารถสร้างเงาที่นุ่มนวล เกรดที่นิยมใช้ทั่วไปคือ และ 2มีหลายสีแต่ที่นิยมคือสีดำ  เพราะเน้นน้ำหนักแสงเงาได้ชัดเจนกว่าสีอื่น  เหมาะสมกับการเขียนลงบนกระดาษขาวทั่วไป 
                   - ดินสอถ่าน (Carbon pencil) เป็นถ่านที่บรรจุไว้ในไส้ดินสอมีน้ำหนักความเข้มเช่นเดียวกับถ่านไม้  สามารถใช้วาดภาพวัตถุที่มีรายละเอียดมาก 
             ๖.๒ ชอล์ก (Chalk) ลักษณะเป็นแท่งกลม มีหลายสีเหมาะสมกับการเขียนบนกระดาษสีเข้ม เช่น สีน้ำตาล สีเมา สีเขียว ฯลฯ 
             ๖.๓ ดินสอ (Pencil) เป็นอุปกรณ์พื้นฐานของการวาดเส้นในปัจจุบัน ง่ายต่อการขนย้าย สามารถลบออกได้ มีทั้งไส้อ่อนและไส้แข็ง 
             ๖.๔ หมึก (Ink) สีที่นิยมใช้ในการวาดเส้นคือ สีดำ สีน้ำตาล ควรเลือกใช้กระดาษที่มีความหนา เช่น ๘๐ ปอนด์ หรือ ๑๐๐ ปอนด์  จะใช้ผิวเรียบ หรือหยาบก็ได้  โดยมีอุปกรณ์อื่นเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น แปรง พู่กัน ปากกา สันไม้ ไม้ทุบปลาย เป็นต้น 
         สิ่งที่ควรฝึกตนเองก่อนเริ่มลงมือวาดรูป ขั้นแรกให้หัดเขียน เส้นนอน เส้นตั้ง เส้นเฉียง ซ้ำ ๆ กันให้คล่องมือ


         หลังจากนั้นให้หัดแรเงาตามรูปทรง  โดยใช้เส้นตรงวางให้ชิดเป็นแนวเดียวกัน ใช้วิธีเหวี่ยงข้อมืออย่างเร็วทั้งขึ้นและลง


         ฝึกเขียนเลียนแบบจากที่สายตามองเห็น  และลองขยายต้นแบบให้มีขนาดใหญ่ขึ้น และย่อส่วนจากแบบ สามารถทำให้เกิดภาพลวงตา บอกระยะได้


         การฝึกสมาธิให้ใจสัมพันธ์กับมือ  โดยการลงซ้ำบนรอยเดิมค่อย ๆ ทำเวลาให้เร็วขึ้น


ก่อนเขียนรูปควรสังเกตดูลักษณะของหุ่น            
         ๑. รูปทรง ขนาด ระยะ สังเกตรูปทรงและขนาดของภาพให้ดี  หากเราย่อหรือขยายสัดส่วนโดยสังเกตจากหุ่นที่ใกล้เคียง เปรียบเทียบ ขนาด ระยะ ความสูงต่ำ 
         ๒. แสงและเงา ทิศทางที่แสงตกกระทบหุ่น แสงมีหลายลักษณะ คือ
             - แสงสว่างที่สุด (
Highlight) อยู่ในส่วนที่รับแสงโดยตรง
             - แสงสว่าง (Light) อยู่ในส่วนรับอิทธิพลของแสง
             - เงา (Shadow) อยู่ในส่วนรับอิทธิพลของแสงน้อยมาก
             - เงามืด (
Core of Shadow) อยู่ในส่วนที่ไม่ได้รับอิทธิพลของแสงเลย
             - แสงสะท้อน (Reflects Light) บริเวณของวัตถุที่ไม่ได้รับแสงโดยตรง แต่เป็นการสะท้อนของแสงจากวัตถุใกล้เคียง
             - เงาตกทอด (Cast Shadow) บริเวณที่เงาของวัตถุนั้น ๆ ตกทอดไปตามพื้นหรือตามวัตถุอื่นที่รองรับน้ำหนักแก่กว่าบริเวณแสงสะท้อน


         ๓. ผิว  สังเกตหุ่นว่ามีลักษณะผิวอย่างไร เช่น
             - ผิวด้าน เช่น กิ่งไม้แห้ง ใบไม้แห้ง เครื่องปั้นดินเผา หุ่นผิวลักษณะนี้แสงจะต้องนุ่มนวล จากแสงอ่อนไปจนถึงแก่จัด
             - ผิวมัน เช่น ผลไม้สด เซรามิค ภาชนะพลาสติก  หุ่นผิวประเภทนี้จัดเป็นจุดและแสงจะต้องขาวไม่ว่าหุ่นจะเป็นอะไรก็ตาม
             - ผิวใส เช่น แก้วน้ำ ขวดใส ถุงพลาสติกใส่อาหาร โหลแก้ว  หุ่นประเภทนี้ต้องเขียนให้ใสมองทะลุถึงวัตถุที่อยู่ด้านหลังของหุ่นจะมีความแวววาวมาก
         ๔. น้ำหนัก
 
         ๕. องค์ประกอบของภาพ คือ การจัดวางภาพและหน้ากระดาษให้เหมาะสมกัน โดยไม่ให้ใหญ่และไม่เล็กจนเกินไป




ตัวอย่าง
Sketch of Asami Sato Drawing ideas - Ian
Drawing ideas - dog  Drawing ideas - horse

    

วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Graphic Art


Graphic คืออะไร ? คำว่า Graphic จริงๆแล้วหมายถึงอะไร ?

ความจริงแล้วเป็นเรื่องยากที่เราจะจำกัดนิยามหรือความหมายของคำว่า Graphics ให้เป็นความหมายที่มีนิยามสั้นๆได้ เพราะ Graphics design เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์อีกหลายแขนง และกิจกรรมอื่นๆอีกหลายอย่าง แต่ในบทความนี้จะขอยกตัวอย่างความหมายและนิยามที่น่าสนใจจากหลายมุมมองของคำว่า Graphics มาให้ทำความเข้าใจเอาไว้ก่อน
graphic design

Graphic คือ ?

คำว่า กราฟิก (Graphic) หรือที่ภาษาไทยบางส่วนนิยมเขียนว่า กราฟฟิก เป็นภาษากรีก มาจากคำว่า Graphikos ที่หมายถึงการเขียนภาพด้วยสีและภาพขาวดำ และคำว่า  Graphein มีความหมายทั้งการเขียนด้วยตัวหนังสือและการสื่อความหมายโดยการใช้เส้น หากรวมทั้งคำว่า Graphikos และ Graphein เข้าด้วยกัน กราฟฟิกจะหมายถึงวัสดุใด ๆ ซึ่งแสดงความจริง แสดงความคิดอย่างชัดเจน โดยใช้ภาพวาด ภาพเขียน และข้อความตัวอักษร ภาพวาดอาจจะเป็น แผนภาพ ( Diagram ) ภาพสเก็ต ( Sketch ) หรือแผนสถิติ ( Graph ) หรืออาจเป็นคำที่ใช้เป็นหัวเรื่อง ( Title ) คำอธิบายเพิ่มเติมของแผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติ และภาพโฆษณา  อาจวาดเป็นการ์ตูนในรูปแบบหรือประเภทต่างๆ ภาพสเก็ต สัญลักษณ์ และภาพถ่าย สามารถใช้เป็นกราฟิกเพื่อสื่อความหมายในเรื่องราวที่แสดงข้อเท็จจริงต่าง ๆได้ กราฟิกทางการศึกษา เป็นสื่อการสอนที่สื่อถึงเรื่องราวต่าง ๆ โดยใช้เส้น ภาพวาดและสัญลักษณ์ ที่ใกล้เคียงความเป็นจริง แทนคำพูดซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของแผนที่ แผนภาพ ภาพโฆษณา การ์ตูน และแผนสถิติ ฯลฯ
หากอ้างอิงจากวิกิพีเดีย
Graphic คือ รูปภาพสัญลักษณ์ที่มองเห็นด้วยตา (เป็นทัศนศิลป์อย่างหนึ่ง) และมีหน้าที่สื่อความหมายจากสัญลักษณ์สู่ความหมาย คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่ากราฟิกดีไซน์เป็นงานที่ทำด้วยคอมพิวเตอร์หรือเป็นการสร้างแอนิเมชันสามมิติ ซึ่งในความเป็นจริง คอมพิวเตอร์เป็นเพียงเครื่องมือชิ้นหนึ่งที่ช่วยในการสร้างงานกราฟิกดีไซน์ได้ เช่นเดียวกับ ดินสอ ปากกา พู่กัน
กราฟิกดีไซน์ เป็นการทับศัพท์มาจากภาษาอังกฤษ graphic design คำว่า graphic มีคำในภาษาไทยที่ใช้แทนได้คือ เรขศิลป์, เลขนศิลป์ หรือ เรขภาพ ส่วน design แปลว่า การออกแบบ เมื่อรวมกันแล้ว กราฟิกดีไซน์จึงมีหมายความว่า การออกแบบเรขศิลป์ หรือ การออกแบบเลขนศิลป์

AIGA หรือ America Institute of Graphic Arts หนึ่งใน สถาบันที่มีอิทธิพลมากที่สุดในวงการ Graphic Design (1914)
AIGA หรือ America Institute of Graphic Arts หนึ่งใน สถาบันที่มีอิทธิพลมากที่สุดในวงการ Graphic Design (1914)
นิยามของ Graphics Design ที่บันทึกโดยสถาบัน AIGA โดย Jessica Helfand นักเขียน – คอลัมนิสต์ และผู้บรรยายเกี่ยวกับกราฟฟิกดีไซน์ได้นิยามเอาไว้ว่า “Graphics Design คือการรวมกันของคำหลายๆคำ, ภาพหลายๆภาพ โดยอาจเป็นภาพชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวเลข แผนผัง ภาพถ่าย หรือภาพประกอบ’ สิ่งต่างๆเหล่านี้ จะเกิดเป็นผลสำเร็จหรือผลงานที่ดีได้ ก็ด้วยความชัดเจน,มีเอกลักษณ์ หรือ Style เฉพาะตัวของผู้ออกแบบ ซึ่งเหมือนทำหน้าที่เป็นผู้ประพันธ์ดนตรีขึ้นมาโดยใช้องค์ประกอบต่างๆทางศิลปะเป็นส่วนผสม
ดังนั้น ผู้ที่ทำหน้าที่ออกแบบจะมีหน้าที่นำสิ่งต่างๆ มาจัดรวมไว้ด้วยกัน โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง เพื่อให้ผลลัพธ์ที่ออกมาเป็นผลงานที่ดูสนุกสนาน ดูแตกต่าง สร้างความประทับใจให้ผู้พบเห็น

Massimo Vignelli
Massimo Vignelli นักออกแบบชาวอิตาลีได้ให้ความเห็นว่า ” กราฟฟิกดีไซน์เปรียบเสมือนกับการจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ” โดยประกอบไปด้วยเรื่องต่างๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงควาหมายให้ถูกต้อง, การจัดการกับประโยค หรือข้อความที่สอดคล้องกัน และการจัดการกับส่วนที่มีความหมายยุ่งยากต่อการทำความเข้าใจ ให้เข้าใจได้อย่างง่ายดาย”

Tibor Kalman
Tibor Kalman นักกราฟฟิกดีไซน์เนอร์ชาวฮังการีแห่งค่าย Colors Magazine ได้ให้สัมภาษณ์กับ Moira Cullen นักเขียนทางด้านการออกแบบชั้นนำไว้ว่า ” Graphic Design คือภาษาอย่างหนึ่ง แต่นักออกแบบกราฟิกไม่ต้องยุ่งยากหรือกังวลเกี่ยวกับหลักการในเรื่องของภาษา เช่นเรื่องพยางค์หรือเว้นวรรคมากนัก แต่นักออกแบบควรใช้เวลาไปสนใจในเรื่องการสื่อสารออกไปในทิศทางที่มันควรจะเป็นให้ได้เสียมากกว่า”

Bob Gill
 Bob Gill กราฟิก,ดีไซน์เนอร์ และ นักเขียนภาพประกอบชาวอเมริกันให้ความเห็นสั้นๆว่า ” Graphic Design เปรียบดังภาษาขั้นที่สอง”

เราสามารถสรุปภาพรวมและคำจำกัดความของคำว่า Graphic Design ได้ว่า Graphic Design คือ การออกแบบภาษาชนิดหนึ่งที่มีพื้นฐานมาจากองค์ประกอบทางศิลปะ ซึ่งสามารถบอกเล่าแนวคิดของเราต่อสิ่งต่างๆ โดยมันจะต้องน่าสนใจทั้งในแง่ตัวภาษาและเนื้อหาที่พูดถึงมัน

Solid illustrations by Andrew Haines #bleaq #illustration #skulls #dark #blue #purple     "Rejoice" by Ruben Ireland #illustration #drawing #portrait #girl #black
DEATH OR GLORY by Tomasz Majewski, via Behance #death #skull #illustration #drawing #roses       Graphic Art  Ekaterina Koroleva   Sophisticated Style inspiration

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Pop Art


                                                   ศิลปะประชานิยม  Pop Art 



pop-art
กลางคริสต์ทศวรรษ 1950-ปลาย 1960
พ็อพ อาร์ต เป็นศิลปะที่เฉลิมฉลองวัฒนธรรมพ็อพ (พ็อพพูลาร์ คัลเจอร์) ซึ่งเป็นวัฒนธรรมระดับมหาชน ที่ถูกจัดว่าเป็นวัฒนธรรมหรือศิลปะระดับล่าง โดยมีศิลปะชั้นสูงเป็นขั้วตรงกันข้าม ศิลปะชั้นสูงที่ว่านี้คือ บรรดางานศิลปะที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นของดีมีคุณภาพ แต่ละชิ้นมีความเป็นต้นแบบต้นฉบับ มีเพียงหนึ่งเดียวไม่เหมือนใคร มีคุณค่าเสียจนสถาบันศิลปะหรือสถาบันระดับรัฐต้องซื้อเก็บสะสมไว้ในพิพิธภัณฑ์ของประเทศชาติ
ระหว่างปลายคริสต์ทศวรรษ 1940-1950 แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ (Abstract Expressionism) กระเสือกกระสนแสวงหาชื่อเสียงและการยอมรับ จนกระทั่งนักวิจารณ์ยกย่อง พิพิธภัณฑ์ซื้องานเพื่อเปิดแสดง แต่ชาวบ้านไม่เข้าใจ ภาพเขียน แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ กลายเป็นศิลปะสมัยใหม่ชั้นสูง เป็นสิ่งที่จำกัดอยู่ในชนชั้นสูงหรือชนชั้นกลางที่มีการศึกษาดี เป็นของจำเพาะสำหรับคนในวงการศิลปะ
ตรงกันข้ามกับวัฒนธรรมพ็อพ ที่เป็นวิถีปฏิบัติและรสนิยมแบบตลาดดาษดื่น เป็นวัฒนธรรมแห่งการเสพสินค้าที่ผลิตด้วยระบบอุตสาหกรรม มีจำนวนมากๆ ทุกชิ้นผลิตออกมาเหมือนกัน คนหมู่มากซื้อมาใช้เหมือนกันไปหมด เทียบไม่ได้กับงานฝีมือ งานสร้างสรรค์ชั้นสูง
พ็อพ อาร์ต คือแนวศิลปะที่เป็นปฏิกริยาโต้ตอบกับศิลปะลัทธิ แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ ซึ่งเน้นการแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึก การแสดงความเป็นส่วนตัว มีแนวงานเป็นของตัวเองและเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ แต่ พ็อพ อาร์ต กลับหยิบยืมเอาสิ่งที่มีอยู่แล้วในท้องตลาด เช่น วัสดุสำเร็จรูป มานำเสนออย่างมีชีวิตชีวา งานของ พ็อพ อาร์ต มักจะมีอารมณ์ขัน ขี้เล่นและชอบเสียดสี เย้ยหยันต่อศิลปะและชีวิต
ริชาร์ด แฮมิลตัน (Richard Hamilton) ศิลปินชาวอังกฤษเป็นคนแรกที่ทำงานในแนว พ็อพ อาร์ต เมื่อปี 1956 โดยการใช้เทคนิคปะติดภาพถ่ายและสิ่งพิมพ์ ต่อมาส่งอิทธิพลไปสู่สหรัฐอเมริกาและเยอรมนี ศิลปะกระแสนี้มีความเคลื่อนไหวคึกคักที่สุดในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 จนถึง 1960
ต้นตอทางรูปแบบและความคิดสามารถสืบย้อนกลับไปที่กลุ่ม ดาด้า ในด้านของการใช้สินค้าบริโภค ข้าวของเครื่องใช้ (วัสดุสำเร็จรูป) อารมณ์ขันและการต่อต้านศิลปะชั้นสูง และแน่นอนว่า นีโอ-ดาด้า (Neo-Dada) ก็มีอิทธิพลต่อ พ็อพ อาร์ต ด้วยเช่นกัน ต่างกันตรงที่ นีโอ-ดาด้า นำเอาฝีแปรงเขียนภาพแบบ แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ เข้ามาผสมด้วยเท่านั้น
รูปแบบและเนื้อหาของ พ็อพ อาร์ต ไปกันได้ดีกับวิถีชีวิตอเมริกันในคริสต์ทศวรรษ 1960 ยุคที่บริโภคนิยม สินค้าอุตสาหกรรมและวัฒนธรรมพ็อพกำลังเฟื่องฟูสุดขีด ทุกอย่างกลายเป็นสินค้าสำหรับซื้อขาย บ้านเมืองเต็มไปด้วยสื่อโฆษณา สิ่งพิมพ์ ภาพลักษณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อดึงดูดความสนใจ เป็นวัฒนธรรมแบบเสพภาพและภาพลักษณ์สำหรับมองดู พ็อพ อาร์ต จึงแสดงความเป็นอเมริกันได้อย่างถึงพริกถึงขิง
พ็อพ อาร์ต คืองานศิลปะของคนเมือง เป็นวัฒนธรรมเมืองโดยแท้ หากลองเปรียบเทียบ “เรื่อง” หรือ “หัวเรื่อง” ที่ศิลปินในโบราณชอบนำไปเขียนภาพ ศาสนา ตำนาน และประวัติศาสตร์คงเป็นหัวเรื่องยอดนิยมในอดีต ในคริสต์คริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้น 20 ธรรมชาติและทิวทัศน์คือแรงบันดาลใจอันยิ่งใหญ่ เรื่องราวเกี่ยวกับคนและวิถีชีวิตของคนก็เช่นกัน จิตรกรกลุ่ม อิมเพรสชันนิสม์ (Impressionism) เขียนภาพชีวิตคนในเมือง ปิกาสโซ (Picasso) และ มาติสส์ (Matisse) ต่างก็ทำเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติและคนมาตลอดชีวิต มีแต่ พ็อพ อาร์ต นี่แหละที่มีวัฒนธรรมพ็อพในเมืองและสินค้าข้าวของต่างๆ เป็นแรงบันดาลใจ และเป็นครั้งแรกที่ศิลปินสนใจแสดงออกถึงปรัชญาของทุนนิยม บริโภคนิยมอย่างเอาจริงเอาจัง
รูปแบบ วิธีคิด และวิธีทำงานของ พ็อพ อาร์ต ได้ส่งอิทธิพลต่อศิลปินและกระแสศิลปะในยุคต่อมาเป็นอย่างมาก ศิลปะในลัทธิหลังสมัยใหม่ หรือ โพสต์โมเดิร์นนิสม์ (Postmodernism) ที่กำลังเป็นที่พูดถึงอย่างมากในไทยขณะนี้ ก็เติบโตมาจาก พ็อพ อาร์ต นี่เอง
คงจะเพราะ พ็อพ อาร์ต เล่นกับภาพลักษณ์และมีการนำเอาการ์ตูน สินค้า และสิ่งออกแบบที่คนชอบและคุ้นเคยมาใช้นั่นเอง ทำให้ พ็อพ อาร์ต เป็นที่ชื่นชอบของคนทั่วไป กลายเป็นที่ “ประชานิยม” จริงๆ ไม่ใช่แค่แนวคิดเกี่ยวกับของฮิตเท่านั้น แต่ พ็อพ อาร์ต ได้ทำให้มันเป็นของฮิตขึ้นจริงๆ เลยทีเดียว
ในความสำเร็จของ พ็อพ อาร์ต ในด้านที่เกี่ยวกับการจัดการกับระดับสูง-ต่ำของศิลปะ อาจมองได้สามทางว่า ศิลปินกลุ่มนี้ได้นำเอาศิลปะวัฒนธรรมจากสองขั้วสูง-ต่ำมาเจอกัน หรืออาจมองได้ว่าพวกเขาได้ทำของต่ำให้สูง นำของระดับล่างมาทำให้เป็นศิลปะชั้นสูง หรือไม่ก็เป็นการทำให้ของสูงโน้มลงมาแตะดิน
เป็นการพยายามทำลายหอคอยงาช้างที่พวก โมเดิร์นนิสต์ (Modernist, Modernism) สร้างเอาไว้สูงตระหง่าน สูงขึ้นหิ้งเป็นของเฉพาะกลุ่ม แปลกแยกออกจากสังคม กลายเป็นอะไรที่เป็น “อุดมคติ” เป็นแบบแผนและแข็งตัวจนเกินไป แต่เอาเข้าจริงๆ การทำลายหอคอยงาช้างของ โมเดิร์นนิสต์ แล้วประกาศว่าเป็น โพสต์โมเดิร์น จะทำให้ชาวบ้านเข้าถึงศิลปะมากขึ้นหรือไม่ ยังคงเป็นคำถามที่ชวนคิดอยู่จนถึงทุกวันนี้
แม้ว่าโดยแนวคิดรวมๆ ของ พ็อพ อาร์ต คือ การท้าทายความคลาสิคอันสูงส่งของศิลปะประเพณีที่อยู่ในกรอบระเบียบอันเคร่งครัด และยังทำการล้อเลียนหยอกเย้ากับความเป็นปัจเจกเฉพาะตัว ละเลยความเป็นต้นฉบับที่แปลกใหม่ไม่เหมือนใครตามแนวทางของ ศิลปะสมัยใหม่ (โมเดิร์น อาร์ต) แต่เอาเข้าจริงๆ ศิลปินพ็อพแต่ละคนต่างก็มีรูปแบบที่เป็นลักษณะเฉพาะไม่เหมือนศิลปินอื่นๆ (แต่ไปเหมือนงานพาณิชย์ศิลป์ที่ตัวเองไปหยิบยืมมา)
แอนดี้ วอร์ฮอล (Andy Warhol) ไม่เป็นเพียงหัวหอกของกลุ่มศิลปินพ็อพ แต่เป็นศิลปินชั้นนำระดับซูเปอร์สตาร์ของอเมริกาหรือของโลกเลยทีเดียว นอกจากจะเป็นศิลปินที่มีผลงานยอดเยี่ยมเป็นที่ชื่นชอบแล้ว วอร์ฮอล ยังเป็นดาวสังคมของนครนิวยอร์คอีกด้วย เรียกได้ว่าทั้งชีวิตและผลงานของเขาเป็น “พ็อพ” มากๆ เลยทีเดียว
ลักษณะเฉพาะตัวของ วอร์ฮอล ที่ทุกคนรู้จักดีคือ การทำงานจิตรกรรมด้วยเทคนิคภาพพิมพ์ซิลค์สกรีน เทคนิคดังกล่าวเป็นวิธีการสร้างงานพิมพ์ในระดับอุตสาหกรรม มักจะใช้ในแวดวงโฆษณาขายสินค้า เช่น ทำโปสเตอร์ บิลบอร์ด และพิมพ์ลวดลายลงบนเสื้อยืด ในสมัยนั้นเทคนิคนี้ยังถือว่าเป็นของค่อนข้างใหม่
แอนดี้ วอร์ฮอล ใช้เทคนิคอุตสาหกรรมนี้พิมพ์ภาพดารา นักร้อง และคนดังระดับตลาดมหาชน เช่น พิมพ์ภาพ มาริลีน มอนโร อลิซาเบ็ธ เทเลอร์ และ เอลวิส เพรสลีย์ บ้างก็พิมพ์ภาพผลงานจิตรกรรมระดับคลาสสิคที่ขึ้นหิ้งของโลก เช่น ภาพ โมนา ลิซ่า (ยอดฮิตที่สุดของการถูกนำไปใช้ ถูกนำไปล้อเลียน) ภาพเทพ วีนัส ฝีมือ บอตติเซลลี ภาพทั้งหมดนี้ วอร์ฮอล นำมาพิมพ์ด้วยสีฉูดฉาดเตะตาในจำนวนเยอะๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เรียงกันเป็นพรืดแบบสินค้าอุตสาหกรรมที่ผลิตซ้ำได้ทีละมากๆ
รอย ลิชเท็นสไตน์ (Roy Lichtenstein) เป็นศิลปินพ็อพอีกคนที่มีชื่อเสียงในระดับซูเปอร์สตาร์ แต่ยังไม่ถึงขั้น “ดาวสังคมไฮโซ” เท่า วอร์ฮอล
ลิชเท็นสไตน์ มีลักษณะเฉพาะตัวด้วยการสร้างงานให้เป็นแนวการ์ตูน เขาหยิบยืมรูปแบบของสิ่งพิมพ์การ์ตูนอุตสาหกรรมที่เล่าเรื่องเป็นช่องๆ มีลักษณะพิเศษอยู่ที่การตัดเส้นภาพลายเส้นด้วยเส้นทึบดำ สร้างสีและน้ำหนักของภาพด้วยการใช้แถบเม็ดสี แถบริ้วสี (เม็ดสกรีนและแพนโทน) บางครั้ง ลิชเท็นสไตน์ ถึงกับนำภาพจากหนังสือการ์ตูนที่วางขายในท้องตลาดมาดัดแปลงเล็กน้อยให้เป็นผลงานของตัวเอง
จุดที่พิเศษไปจากการ์ตูนสิ่งพิมพ์อุตสาหกรรมราคาถูกก็คือ ลิชเท็นสไตน์ นำลักษณะดังกล่าวมาทำเป็นงานจิตรกรรมขนาดใหญ่ เรียกได้ว่า ระบายสีทำงานจิตรกรรมให้เป็นลักษณะอุตสาหกรรม หรือพูดอีกอย่าง ทำสิ่งพิมพ์ให้เป็นจิตรกรรม ทำ ศิลปะระดับล่าง (โลว์ อาร์ต) ให้เป็น ศิลปะชั้นสูง (ไฮ อาร์ต) หรือสลับกัน
และที่ขาดไม่ได้เช่นเดียวกับ แอนดี้ วอร์ฮอล คือการหยอกล้องานคลาสสิคบรมครู ลิชเท็นสไตน์ นำเอาภาพชั้นยอดอย่างเช่น งานสีน้ำมันภาพโบสถ์อันโด่งดังของ โมเนต์ (Monet) ภาพคนเดินหว่านเมล็ดพันธุ์พืชของ วินเซนต์ แวน โก๊ะ (Vincent van Gogh) ภาพนามธรรมเรขาคณิตของ มงเดรียน (Mondrian) และภาพปลาในโหลแก้วของ มาติสส์ มาทำเป็นจิตรกรรมและภาพพิมพ์ในลักษณะที่เป็นสิ่งพิมพ์อุตสาหกรรม ดูเหมือนสินค้าแบบพ็อพในตลาด
คนโดยทั่วไปเมื่อได้ยินคำว่าประติมากรรมหรือรูปปั้นเมื่อใด ก็มักจะนึกถึงงานแกะสลักหินอ่อนรูปเหมือนจริง อย่างเช่น รูป เดวิด ของ ไมเคิลแองเจโล รูปชายหญิงจูบกันของ โรแดง หรือไม่ก็รูปหล่อสำริดที่เป็นอนุสาวรีย์วีรบุรุษวีรสตรีแห่งชาติ แต่ประติมากรรมของ เคลส์ โอลเด็นเบิร์ก (Claes Oldenberg) ปฏิเสธเรื่องราวยิ่งใหญ่แบบคลาสสิคมหากาพย์ทั้งหลาย โอลเด็นเบิร์ก หยิบจับเอาข้าวของในชีวิตประจำวันสมัยใหม่ เช่น ไม้หนีบผ้ากระดุม ก็อกน้ำและสายยาง และขนมพายมาทำประติมากรรม ขยายขนาดจนใหญ่โตมโหฬาร เรียกรอยยิ้มจากคนดูได้เป็นอย่างดี
นอกจากทำของเล็กให้ใหญ่โตแล้ว โอลเด็นเบิร์ก ยังทำงานอีกชุดที่เป็น ประติมากรรมอ่อนนุ่ม (soft sculpture) เขานำเอาข้าวของเครื่องใช้กระจุกกระจิกมาขยายใหญ่โตเกินปกติ และยังใช้วัสดุนุ่มนิ่มมาสร้างประติมากรรม ทำให้สิ่งของเหล่านั้นอ่อนปวกเปียกผิดธรรมชาติของวัตถุต้นแบบนั้นๆ เรียกได้ว่า ท้าทายการคิดการทำประติมากรรมในแบบจารีตประเพณีมากๆ เลยทีเดียว
แม้ว่าความเคลื่อนไหวของ พ็อพ อาร์ต จะมีความตื่นตัวที่สุดในราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 แต่แนวทางของ พ็อพ อาร์ต ยังคงร่วมยุคร่วมสมัยกับสังคมและวงการศิลปะในปัจจุบันเป็นอย่างดี เพราะพวกเรายังอยู่ในสังคมยุควัฒนธรรมพ็อพ หรือตามที่มีเสียงกระหึ่มดังว่าเป็นสังคมยุค หลังสมัยใหม่ (โพสต์โมเดิร์น) กันไปแล้ว
เป็นยุคสมัยที่อะไรๆ จากยุคสมัยใหม่ก็ถูก “ถอดรื้อ” และถูกตรวจสอบไปเสียหมด เป็นยุคที่อะไรๆ ก็ถูก “ทำให้พ็อพ” ของสูงก็ถูกทำให้กลายเป็นของสามัญ กลายเป็นสินค้าสำหรับซื้อขายไปเสียทุกอย่าง
ศิลปิน: จิม ไดน์ (Jim Dine, 1935-), ริชาร์ด แฮมิลตัน (Richard Hamilton, 1922-), เดวิด ฮอคนีย์ (David Hockney,1937-), โรเบิร์ต อินเดียนา (Robert Indiana, 1928-), อาร์.บี. คิทาจ์ (R.B. Kitaj, 1932-), รอย ลิชเท็นสไตน์ (Roy Lichtenstein, 1923-1997), เคลส์ โอเด็นเบิร์ก (Claes Oldenberg, 1929-), ซิกมาร์ โพลเก้ (Sigmar Polke, 1941-), แกร์ฮาร์ด ริชเตอร์ (Gerhard Richter, 1932-), เจมส์ โรเซ็นควิสท์ (James Rosenquist, 1933-), เอ็ด รัสก้า (Ed Ruscha, 1937-), แอนดี้ วอร์ฮอล (Andy Warhol, 1927-1987), ทอม เวสเซ็ลแมนน์ (Tom Wesselmann, 1931-)

Queen of Hearts Pop Art StyleFantastic pop art style layout   

Pop art style     Paul Boddum- Pop Art style- Gesso
Gutenberg in Pop Art Style              Marilyn - pop art style